Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8567
Title: ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการใช้คิวอาร์โค้ดรับชำระค่าสินค้าของผู้ขายในศูนย์การค้าเดอะแพลทินัมแฟชั่นมอลล์
Other Titles: Marketing mix factors that affect the use of QR code to receive payment for goods of the sellers at the Platinum Fashion Mall
Authors: เจริญศักดิ์ แสงฉัตรสุวรรณ
พรพรรษา เกิดอนันต์, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัท เดอะ แพลทินัม กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)--การตลาด
คิวอาร์โคด
การชำระเงิน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงระดับความคิดเห็นของผู้ประกอบ การที่มีต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้คิวอาร์โค้ดรับชำระค่าสินค้าในศูนย์การค้าเดอะแพลทินัมแฟชั่นมอลล์ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้คิวอาร์โค้ดรับชำระค่าสินค้าโดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลการศึกษาเรื่อง ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการใช้วอาร์โค้ดรับชำระค่าสินค้าของผู้ขายในศูนย์การค้าเดอะแพลทินัมแฟชั่นมอลล์ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยการแจกแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ขายสินค้าในศูนย์การค้าเดอะแพลทินัมแฟชั่นมอลล์ที่ทราบจำนวนแน่นอนโดยอ้างอิงจากข้อมูลของศูนย์การค้าฯ กำหนดขนาดตัวอย่างที่ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดย คำนวณจากสูตร ทาโร่ ยามาเน่ ได้ทั้งสิ้น 345 ร้าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์สถิติค่าทีและค่าเอฟ และการเปรียบเทียบเชิงพหุคูณแบบเปรียบเทียบผลต่างของค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุดผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ประกอบการมีความคิดเห็นในด้านของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดอยู่ในระดับมากทั้งด้าน (2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีเพสและอายุที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการใช้คิวอาร์โค้ด เพื่อรับชำระค่าสินค้าที่แตกต่างกัน เมื่อทำการทดสอบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ในส่วนของอายุพบว่ามีความแตกต่างกัน 3 คู่ คือ ระหว่างกลุ่มมีอายุต่ำกว่า20 ปีกับกลุ่มอายุ 20-27 ปี กลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีกับกลุ่มอายุ 36-43 ปีและกลุ่มที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี กับกลุ่มอายุ 44 ปีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านการส่งเสริมการตลาดไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8567
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_161279.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons