กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/857
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The study of pattern of public participation in the elections of members of Tambon Administration Organization assembly and president of Tambon
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปธาน สุวรรณมงคล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ฐปนรรต พรหมอินทร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กรกช กาวิล, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การเลือกตั้งท้องถิ่น -- ไทย -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
การมีส่วนร่วมทางการเมือง -- ไทย
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง (2) ศึกษารูปแบบของการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ระดับการศึกษา อาชีพ ฐานะทางสังคม การเป็นอาสาสมัครปฏิบัติงาน การเห็นคุณค่าของการเลือกตั้ง การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ การเลือกตั้ง กับรูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้ง (4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการมี ส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเลือกตั้ง การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรคือผู้มีสิทธิเลือกตั้งในองค์การ บริหารส่วนตำบล 33 แห่ง ของจังหวัดเชียงราย จำนวน 411,170 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างจากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 418 คน โดยใช้สูตรยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่น ได้แก่ หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้านและเสียงตามสายเป็นช่องทางที่มีความสำคัญอย่างมากที่ช่วยในการสื่อสารและกระจายข่าวสารให้กับชุมชนผ่านเสียงตามสายเกือบทุกหมู่บ้าน ซึ่งเป็นช่องทางการสื่อสารที่ รวดเร็ว สะดวก และเข้าถึงชุมชนได้มากที่สุด (2) รูปแบบการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้ง แยกเป็น ช่วงก่อนการเลือกตั้ง ได้แก่ การตรวจสอบรายชื่อของตนเองและคนในครอบครัวที่มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ช่วงวันเลือกตั้ง ได้แก่ การตัดสินใจว่าจะเลือกผู้สมัครผู้ใดไว้แล้วก่อนเดินทางไปเลือกตั้ง ช่วงหลังเลือกตั้ง ได้แก่ การทราบผลการนับคะแนนเลือกตั้ง (3) ฐานะทางสังคม (การเป็นอาสาสมัครปฏิบัติงาน) การเห็น คุณค่าของการเลือกตั้ง การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้ง มีความสัมพันธ์กับรูปแบบการมีส่วนร่วม ของประชาชนในการเลือกตั้งท้องถิ่น (4) แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ในการเลือกตั้งท้องถิ่น ได้แก่ ควรพัฒนาการนำเสนอสื่อประชาสัมพันธ์ กกต. ควรประชาสัมพันธ์เพื่อขอความร่วมมือไปยังเจ้าบ้านแจ้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อยู่ที่อื่นให้เดินทางกลับมาลงคะแนนเลือกตั้ง และคณะกรรมการ การเลือกตั้งควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้นำชุมชนและประชาชนผ่านหอกระจายข่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น อาทิ การจัดประชุมสัญจร เพื่อให้ได้มีโอกาสซักถาม และร่วมแสดงความคิดเห็น อันจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/857
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib129210.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons