กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8580
ชื่อเรื่อง: การประเมินความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Assessment of educational inequality in mathematics and science study at the upper secondary level
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมคิด พรมจุ้ย, อาจารย์ที่ปรึกษา
เพชรผ่อง มยูขโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นพรัตน์ ใบยา, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน -- การประเมิน
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน -- การประเมิน
การประเมินผลทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลการสอบระดับชาติ (O-NET) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ (2) จัดลำดับผลการสอบระดับชาติ (O-NET) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ตามจังหวัด ภูมิภาค และศึกษาความคงเส้นคงวาของการจัดลำดับ (3) ประเมินความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของผลการสอบระดับชาติ (O-NET) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามระดับโรงเรียน จังหวัด ขนาดสถานศึกษา สังกัด และที่ตั้ง และ (4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผลการสอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทุกคนในโรงเรียน จาก 5 สังกัด ตั้งแต่ พ.ศ. 2552-2554 จาก สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) และข้อมูลนักเรียน ครู โรงเรียน และผู้บริหารสถานศึกษา จากผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย นักเรียน 1539 คน ครู 560 คน และผู้บริหาร จำนวน 116 คน ซึ่งเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความสัมพันธ์อันดับที่ของสเปียร์แมน ค่าร้อยละ สัมประสิทธิ์ของความแปรผัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยที่สำคัญ พบว่า (1) ผลการประเมินผลสอบวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 3 ปี โรงเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับพอใช้ (2) การจัดลำดับผลการสอบระดับชาติ (O-NET) ของปี พ.ศ. 2552-2554 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 วิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ของโรงเรียนไม่มีความคงเส้นคงวา แต่ระดับจังหวัด และระดับภูมิภาคมีความคงเส้นคงวาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) ผลประเมินความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของผลสอบระดับชาติ (O-NET) ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามระดับโรงเรียนและจังหวัดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนความเหลื่อมล้ำตามขนาดสถานศึกษาโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีความเหลื่อมล้ำมากที่สุด ส่วนตามสังกัดโรงเรียนสังกัด สช. มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุด สำหรับที่ตั้งของโรงเรียนโรงเรียนในเมืองมีความเหลื่อมล้ำมากกว่านอกเมืองในวิชาวิทยาศาสตร์ ส่วนโรงเรียนนอกเมืองมีความเหลื่อมล้ำมากกว่าโรงเรียนในเมืองในวิชาคณิตศาสตร์ และ (4) ปัจจัยที่ส่งผลให้ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ลดลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีหลายด้านคือ ด้านนักเรียนและครอบครัว ได้แก่ ทรัพยากรทางการเรียนที่บ้าน การส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครอง ด้านครู ได้แก่ คุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครู ความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การวัดผลประเมินผลอย่างหลากหลาย ด้านสถานศึกษา ได้แก่ การกระจายอำนาจด้านหลักสูตร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8580
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
134832.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.49 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons