Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8583
Title: | ความมั่นคงในการควบคุมตนของคนหลังกำแพง |
Other Titles: | The durability of self-control of imprisoned people |
Authors: | จิระสุข สุขสวัสดิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา สุพจน์ อารีย์สวัสดิ์, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --การศึกษาเฉพาะกรณี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี การควบคุมตนเอง การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา นักโทษ |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยแบบผสมผสานวิธีประเภทอธิบายเป็นลำดับในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาระดับการควบคุมตนของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางบางขวาง และ (2) ศึกษาประสบการณ์ การควบคุมตนของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางบางขวาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ผู้ต้องขังเรือนจำกลางบางขวาง จำนวน 360 คน ได้มาโดยวิธีการลุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการคัดเลือกแบบ เจาะจง โดยมีเกณฑ์การคัดเข้า คือ มีคะแนนจากแบบวัดความสามารถในการควบคุมตนอยู่ในระดับดีขึ้นไป ไม่เคยกระทำผิดวินัยของเรือนจำตลอดระยะเวลา 10 ปีขึ้นไป สามารถสื่อสารได้ดี และยินดี เข้าร่วมการวิจัย จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการควบคุมตน มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .87 และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกภาคสนาม สถิติที่ใฃ้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผู้ต้องขังส่วนใหญ่มีความสามารถในการควบคุมตนอยู่ในระดับ ดีมาก และ (2) ประสบการณ์การควบคุมตนของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางบางขวางพบประเด็นหลัก 3 ประเด็น ได้แก่ (ก) วิถีชีวิตในสังคมใหม่ ประกอบด้วยประเด็นรอง 2 ประเด็น คือ การเผชิญความยากลำบาก และแสงสว่างในความยากลำบาก (ข) กุญแจสำคัญในการควบคุมตน ประกอบด้วย ประเด็นรอง 2 ประเด็น คือ ปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายใน และ (ค) จุดมุ่งหมายในชีวิต ประกอบด้วยประเด็นรอง 2 ประเด็น คือ การประกอบอาชีพอย่างสุจริตและพอเพียง และการทำหน้าที่เสาหลักดูแลครอบครัว |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8583 |
Appears in Collections: | Edu-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_152257.pdf | เอกสารฉบับเติม | 19.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License