Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8585
Title: พฤติกรรมลูกค้าและส่วนประสมทางการตลาดของการบริการออนไลน์ของธนคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ในเขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Customers’ behaviors and marketing mix towards online services of Thanachat Bank Public Company Limited in Khan Na Yao District, Bangkok Metropolitan
Authors: สุรีย์ เข็มทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ภัคกัญญา ศศิธร, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ธนาคารธนาชาต--การตลาด
พฤติกรรมผู้บริโภค
ธนาคารและการธนาคาร--บริการลูกค้า
การตลาดธนาคาร
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (I) ศึกษาพฤติกรรมลูกค้าในการใช้บริการออนไลน์ของธนาการธนชาต จำกัด (มหาชน) ในเขตกันนายาว กรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาระดับความสำกัญของส่วนประสมทางการตลาดของการบริการออนไลน์ของธนาการธนชาต จำกัด (มหาชน) ในเขตคันนายาวกรุงเทพมหานคร และ (3) เปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของการบริการออนไลน์ของธนาคาร ธนชาต จำกัด (มหาชน) ในเขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกยาคือ ลูกค้าที่ใช้บริการออนไลน์ของธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) ในเขตกันนายาว กรุงเทพมหานคร ซึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรคำนวณของคอแครนได้ 384 ราย ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบบังเอิญเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทคสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการศึกษาพบว่า (1) พฤติกรรมของลูกค้าในการใช้บริการออนไลน์ของธนาคารธนชาติ จำกัด (มหาชน) ส่วนใหญ่ทำธุรกรรมเกี่ยวกับการ โอนเงินบัญชีของธนาคารและขอดเงินที่ใช้บริการแต่ละครั้งไม่เกิน 1,000 บาท ช่วงเวลาที่ใช้บริการบ่อยคือ 18.01-23. 59 น. ความถี่ในการใช้บริการมากกว่า 8 ครั้งต่อสัปดาห์ ลูกค้าส่วนใหญ่รู้จักบริการออนไลน์ของธนาการผ่านสื่อโฆษณาทางอินเทอร์เน็ต และยอดเงินที่ใช้บริการแต่ละครั้งไม่เกิน 1,000 บาท (2) ส่วนประสมทางการตลาดในภาพรวมพบว่า ลูกค้าให้ความสำคัญอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านผลิตภัณฑ์มีระดับความสำคัญมากที่สุดซึ่งเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทางการเงิน ส่วนประสมทางการตลาดด้านอื่นๆ คือ ด้านราคา ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านบุคลากร ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับมาก และ (3) ผลการเปรียบเทียบระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอาชีพของลูกค้า พบว่า ไม่มีความแตกต่างทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8585
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_161045.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.71 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons