Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8605
Title: พฤติกรรมผู้บริโภคในการใช้บริการรถไฟด่วนพิเศษ ขบวน 43/44 กรุงเทพ-สุราษฎร์ธานี-กรุงเทพ
Other Titles: Consumer behavior in using the special express train service: No.43/44 Bangkok-Surat Thani-Bangkok
Authors: ภูริพัฒน์ ชาญกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เสน่ห์ ปานณรงค์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
พฤติกรรมผู้บริโภค
รถไฟ--ไทย
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและพฤติกรรมในการใช้บริการ รถไฟด่วนพิเศษ ขบวน 43/44 กรุงเทพ – สุราษฎร์ธานี – กรุงเทพ (2) ศึกษาระดับการตัดสินใจเลือกใช้บริการ รถไฟด่วนพิเศษ ขบวน 43/44 กรุงเทพ-สุราษฏร์ธานี-กรุงเทพ จำแนกตามปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด บริการและ (3) เปรียบเทียบการตัดสินใจใช้บริการรถไฟด่วนพิเศษ ขบวน 43/44 กรุงเทพ – สุราษฎร์ธานี – กรุงเทพ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ ผู้บริโภคที่ใช้บริการรถไฟด่วนพิเศษ ขบวน 43/44 กรุงเทพ-สุราษฏร์ธานี-กรุงเทพ ในช่วงเดือน เมษายน – พฤษภาคม 2561 ขนาดตัวอย่าง คำนวณตามสูตรของคอแครน ได้จำนวน 400 ราย สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบผลต่าง นัยสำคัญน้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุระหว่าง 35 -50 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีรายได้จากการประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว มีรายได้ต่อเดือน 15,001-25,000 บาท ส่วนพฤติกรรมการใช้บริการพบว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์เพื่อกลับ ภูมิลำเนา ลักษณะของการเดินทางแบบเที่ยวเดียว ลักษณะของการซื้อตั๋วเดินทางโดยซื้อในวันเดินทาง มีความถี่ในการใช้บริการ น้อยกว่า 1 ครั้ง/เดือน และส่วนใหญ่จะกลับมาใช้บริการอีก (2) ปัจจัยส่วน ประสมทางการตลาดบริการ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญโดยรวมอยู่ในระดับมากในทุกด้าน โดยด้านพนักงานบนขบวนรถ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ และ (3) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับการตัดสินใจเลือกใช้บริการ พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับการตัดสินใจเลือกใช้บริการแตกต่างกัน จำแนกตามปัจจัยส่วน ประสมทางการตลาดบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8605
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
157882.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.89 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons