Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8626
Title: ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีเรื่อง การออกแบบและเทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3
Other Titles: E-learning packages for experience-based instruction in the career and technology learning area on design and technology for Prathom Suksa III students in Buri Ram Primary Education Service Area 3
Authors: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรางคณา โตโพธิ์ไทย, อาจารย์ที่ปรึกษา
กรรณิกา ธีรวัฒน์วิทยา, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การสอนด้วยสื่อ
การศึกษาขั้นประถม -- การสอนด้วยสื่อ
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิง ประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การออกแบบและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (2) ศึกษาความก้าวหน้า ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์ และ (3) ศึกษา ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2555 ที่โรงเรียนวัดอัมภาราม (เทิ่งอนุสรณ์) เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบ อิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่อง การออกแบบและเทคโนโลยี จำนวน 3 หน่วย คือ หน่วยประสบการณ์ที่ 6 การสำรวจเทคโนโลยีภายในโรงเรียน หน่วยประสบการณ์ที่ 7 การสำรวจสิ่งของเครื่องใช้ที่สามารถนา กลับมาใช้ซ้ำ และ หน่วยประสบการณ์ที่ 8 การสร้างสิ่งของจาก แผ่นซีดีที่ใช้แล้ว (2) แบบทดสอบก่อนและหลังเผชิญประสบการณ์ แบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถาม ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) ชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์ที่ผลิตขึ้นทั้ง 3 หน่วยประสบการณ์ มีประสิทธิภาพ 79.61/79.76, 80.05/82.44 และ 80.49/80.12 ตามลำดับเป็นไปตาม เกณฑ์ 80/80 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์มีความก้าวหน้า ทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อชุดการเรียน ทางอิเล็กทรอนิกส์แบบอิงประสบการณ์ในระดับเห็นด้วยมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8626
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
137389.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.32 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons