กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8627
ชื่อเรื่อง: | การช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายและจำเลยผู้บริสุทธิ์ในคดีอาญา : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายญี่ปุ่น |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Treatment of victims and innocent defendants in criminal cases : a comparative study of thai and japanese laws |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชนินาฏ ลีดส์ กัญจน์ชญา โกมลวาจ, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี ค่าสินไหมทดแทน (กฎหมาย)--ไทย การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การค้นคว้าอิสระ เรื่อง การช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายและจำเลยผู้บริสุทธิ์ในคดีอาญา : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาวิวัฒนาการ แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียหายและจำเลยผู้บริสุทธิ์ (2) เพื่อศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการเยียวยาสิทธิผู้เสียหายและ จำเลยผู้บริสุทธิ์ในไทยและญี่ปุ่น (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิผู้เสียหายและจำเลยผู้บริสุทธิ์ตามกฎหมายไทยและญี่ปุ่น (4) เพื่อหามาตรการที่เหมาะสมในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยว กับการเยียวยาผู้เสียหายและจำเลยผู้บริสุทธิ์ การค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Quality Research) โดยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research ) ด้วยการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารหนังสือ ตำรา วารสาร ทางวิชาการ ตัวบทกฎหมาย คำพิพากษาของศาลวิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย ข้อมูลทางสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ( Internet ) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและ ค่าใช้จ่ายของจำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ยังคงมีประเด็นปัญหาบางประการ ได้แก่ (1) ทายาทตาม ความเป็นจริงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนหรือค่าทดแทน จึงควรบัญญัติกฎหมายให้ทายาทตาม ความเป็นจริงมีสิทธิดังกล่าว (2) ผู้ต้องหาหรือผู้ถูกคุมขังในชั้นพนักงานสอบสวนไม่มีสิทธิได้รับ ค่าทดแทน จึงควรบัญญัติกฎหมายให้ผู้ต้องหรือหรือผู้ถูกคุมขังในชั้นพนักงานสอบสวนให้ได้รับ สิทธิด้วย (3) ความล่าช้าในการให้ความช่วยเหลือ จึงควรบัญญัติกฎหมายให้ศาลอำนาจมีในการ พิจารณาค่าทดแทนของจำเลยผู้บริสุทธิ์ในคดีอาญา เพื่อความเหมาะสมและรวดเร็วในการ ปฏิบัติงาน (4) กำหนดระยะเวลาในการใช้สิทธิเรียกร้องไม่เพียงพอ จึงควรบัญญัติกฎหมายขยาย ก าหนดระยะเวลาการใช้สิ ทธิ เรี ยกร้องมากกว่า 1 ปี (5) การจำกัดสิทธิอันพึงได้รับตาม พระราชบัญญัติค่าตอบแทน ฯ เนื่องจากผู้เสียหายอาจได้รับการบรรเทาโดยทางอื่น ซึ่งไม่เป็นธรรม แก่ผู้เสียหาย จึงสมควรตัดข้อจำกัดดังกล่าวออก เพื่อให้ผู้เสียหายและจำเลยผู้บริสุทธิ์ในคดีอาญา ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาตามความเป็นจริงและสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อยางปกติสุข |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8627 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_161964.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.24 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License