กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/862
ชื่อเรื่อง: | บทบาทของกลุ่มพัฒนาแม่สอด ในการผลักดันการจัดตั้งจังหวัดแม่สอด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The role of the Mae Sot development group in promoting the upgrading of Mae Sot to the statue of province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธโสธร ตู้ทองคำ กมล สุขศีล, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์ กลุ่มอิทธิพล -- แง่การเมือง การปกครองท้องถิ่น -- ไทย -- ตาก -- การมีส่วนร่วมของประชาชน |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สาเหตุที่ทำให้กลุ่มพัฒนาเมืองแม่สอด มีบทบาทในการผลักดันการจัดตั้งจังหวัดแม่สอด (2) บทบาทของกลุ่มพัฒนาแม่สอดในการผลักดันการจัดตั้งจังหวัดแม่สอด (3) ปัจจัยที่ส่งเสริมสนับสมุนและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการแสดงบทบาทของกลุ่มพัฒนาแม่สอด ในการผลักดันการจัดตั้งจังหวัดแม่สอด การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยดำเนินการ 2 ส่วน ได้แก่ การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ประชากรประกอบด้วย สมาชิกกลุ่มพัฒนาแม่สอด ข้าราชการนักการเมืองระดับชาติและท้องถิ่น นักวิชาการ สื่อมวลชน เจ้าหน้าที่องค์การพัฒนาเอกชน พ่อค้า นักธุรกิจ และเกษตรกร กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกกลุ่มพัฒนาแม่สอด จำนวน 6 คน ข้าราชการ จำนวน 5 คน นักการเมืองระดับชาติและท้องถิ่น จำนวน 4 คน นักวิชาการ สื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ องค์การพัฒนาเอกชน จำนวน 3 คน พ่อค้า นักธุรกิจ และเกษตรกร จำนวน 4 คน โดยการสัมภาษณ์ ตามแบบสัมภาษณ์แล้วนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ในเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า (1) สาเหตุสำคัญที่ทำให้กลุ่มพัฒนาแม่สอด มีบทบาทใน การผลักดันการจัดตั้งจังหวัดแม่สอด คือ ความต้องการตำแหน่งทางการเมืองของผู้นำกลุ่ม ความต้องการขยายฐานอำนาจทางธุรกิจชองสมาชิกกสุ่มพัฒนาแม่สอด การที่กลุ่มพัฒนาแม่สอด เป็นที่ยอมรับของกลุ่มการเมืองอื่น ๆ (2) บทบาทที่สำคัญของกลุ่มพัฒนาแม่สอด คือ การเชื่อม ประสานกับรัฐบาลและประชาชน และการนำเสนอนโยบายสาธารณะไปสู่รัฐบาลและระบบ ราชการ (3) ปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมสนับสบุนการแสดงบทบาทของกลุ่มพัฒนาแม่สอดในการ ผลักดันการจัดตั้งจังหวัดแม่สอด คือ ความสามารถของผู้นำกลุ่ม และการสนับสบุนจาก ภาคเอกชนในพื้นที่ ส่วนปัจจัยที่เป็นปัญหาอุปสรรค คือ กลุ่มพัฒนาแม่สอดมีขนาดเล็กและ นโยบายของรัฐบาลที่ต้องการให้อำเภอแม่สอดเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษมากกว่าเป็นจังหวัด |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/862 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Pol-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib107673.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.82 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License