กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8630
ชื่อเรื่อง: กระบวนการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาเอกชน ในเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Personnel administration process in private schools in Lumpang Educational Service Area 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กล้า ทองขาว, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชวลิต หมื่นนุช, อาจารย์ที่ปรึกษา
อัปสร ยิ่งเจริญ, 2491-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
โรงเรียนเอกชน--การบริหารงานบุคคล--ไทย--ลำปาง
การบริหารงานบุคคล
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษาลำปางเขต 1 และ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 1 จําแนกตามตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทํางาน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษาลำปางเขต 1 จำนวน 315 คน เป็นผู้บริหารสถานศึกษา 66 คน และครูผู้สอน 249 คน ในปีการศึกษา 2550 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบบมาตรประมาณค่า มีค่าความเที่ยง .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการทดสอบค่าเฉลี่ยราย โดยวิธีเซฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า (1) กระบวนการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษาลำปางเขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านการธำรงรักษาและพัฒนาบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง (2) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษาลำปางเขต 1 แตกต่างกันในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน ยกเว้นด้านการสรรหาและคัดเลือกบุคคลพบว่าไม่แตกต่างกัน (3) ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาเอกชนในภาพรวม และรายด้านไม่แตกต่างกัน สำหรับครูผู้สอน พบว่า ครูผู้สอนที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาเอกชน ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่การพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน และ (4) ผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษาเอกชนทั้งในภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน สำหรับครูผู้สอน พบว่า ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการบริหารงานบุคคล ของสถานศึกษาเอกชน ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน แต่การพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านการวางแผนงานบุคคลและการธำรงรักษาและพัฒนาบุคคล
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(บริหารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8630
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons