Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8640
Title: ผลการใช้โปรแกรมการให้การปรึกษาเป็นรายบุคคลตามทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบผู้รับการปรึกษาเป็นศูนย์กลาง เพื่อเพิ่มการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ไม่พึ่งอินซูลิน โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Effects of individual counseling based on the client-centered theory to enhance self-esteem of patients with insulin-independent diabetes mellitus type 2 in Ramathibodi Hospital, Bangkok Metropolis
Authors: ลัดดาวรรณ ณ ระนอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิธิพัฒน์ เมฆขจร, อาจารย์ที่ปรึกษา
กาญจนา รัตนะราช, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนว -- วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลรามาธิบดี -- บริการทางการแพทย์
เบาหวาน -- การดูแลตนเอง
การให้คำปรึกษา
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่พึ่งอินซูลิน ก่อนและหลังให้การปรึกษาเป็นรายบุคคลตามทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบผู้รับการปรึกษาเป็นศูนย์กลางและ (2) เปรียบเทียบความแตกต่างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่พึ่งอินซูลิน กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ไม่พึ่งอินซูลิน โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่มีอายุระหว่าง 18 – 60 ปี จำนวน 16 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 8 คน ให้ได้รับการปรึกษาเป็นรายบุคคล และกลุ่มควบคุม จำนวน 8 คน ได้รับข้อสนเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) โปรแกรมการให้การปรึกษาเป็นรายบุคคลโดยใช้ทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบผู้รับการปรึกษาเป็นศูนย์กลาง (2) โปรแกรมการให้ข้อสนเทศ และ (3) แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ไม่พึ่งอินซูลิน ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิตินันพาราเมตริก ใช้การทดสอบแมนวิทนีย์และวิลคอกซัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่พึ่งอินซูลิน หลังจากได้รับการให้การปรึกษาเป็นรายบุคคลตามทฤษฎีการให้การปรึกษาแบบผู้รับการปรึกษาเป็นศูนย์กลางมีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ภายหลังการทดลองผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ไม่พึ่งอินซูลิน กลุ่มได้รับการให้การปรึกษาเป็นรายบุคคล มีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับข้อสนเทศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8640
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
137454.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.28 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons