กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8658
ชื่อเรื่อง: การศึกษาปัจจัยที่ทำนายการสำเร็จการศึกษาของนักเรียนระดับปริญญาโท สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Investigation of factors predicting degree completion of Master's Degree Students of the School of Education Studies, Sukhothai Thammathirat Open University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สังวรณ์ งัดกระโทก, อาจารย์ที่ปรึกษา
นลินี ณ นคร, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิจิตรา สุพรรณฝ่าย, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- นักศึกษาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช -- การศึกษาและการสอน
การศึกษาทางไกล
พยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ความอยู่รอดในการศึกษาปัจจัยที่ทำนายการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บัณฑิตและนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ที่เริ่มศึกษาในปีการศึกษา 2547 ถึง 2551 จำนวน 206 คน ปัจจัยทำนายที่ศึกษาประกอบด้วยปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยการปรับตัวเข้ากับการศึกษาทางไกล ปัจจัยความทุ่มเทในการเรียน ปัจจัยคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ปัจจัยเจตคติต่อมหาวิทยาลัย ปัจจัยคุณภาพการให้บริการของมหาวิทยาลัย ปัจจัยลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษาการทำวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ และปัจจัยทักษะที่จำเป็นต่อการทำวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามปัจจัยที่ทำนายการสำเร็จการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบและการวิเคราะห์ความอยู่รอด ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ปัจจัยคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ปัจจัยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เข้ากับการศึกษาทางไกล และปัจจัยเจตคติและการบริการของมหาวิทยาลัย สามารถทำนายการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคุณภาพการจัดการเรียนการสอนส่งผลเชิงลบต่อการสำเร็จการศึกษา ขณะที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เข้ากับการศึกษาทางไกล, เจตคติและการบริการของมหาวิทยาลัยส่งผลในเชิงบวก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8658
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
137730.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons