กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8668
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการใช้บริการร้านขายยาของผู้บริโภค ในอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Bahaviors of using pharmacy services among consumers in Siboonruang District, Nongbualamphu Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชาติชาย ธนาวุฒิกุล, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: ร้านขายยา--ไทย--หนองบัวลำภู
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1)ศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการร้านขายยาของผู้บริโภค ในเขตอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้บริการร้านขายยาของผู้บริโภคในเขตอำเภอ ศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ จำนวนสมาชิกในครอบครัว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใชัในการศึกษาคือ ผู้บริโภคบริการร้านขายยาในเขตอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภูจำนวน 89,991 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร ยามาเน่ ได้จำนวน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติที และค่าสถิติเอฟ ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้บริโภคในเขตอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภูส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 25-34 ปี มีระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพธุรกิจ ส่วนตัว โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 5,001-10,000 บาท ส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัว จำนวน 4 คนและรู้จักร้านขายยาร้านโชคดีฟาร์มาซีมากที่สุด และพฤติกรรมการใช้บริการร้านขายยาของผู้บริโภค พบว่าประเภทสินค้าที่ผู้บริโภคเลือกซื้อจากร้านขายยามากที่สุด คือ ยารักษาโรค โดยเลือกซื้อยาแก้ปวด ลดไข้ ส่วนร้านขายยาที่ต้องการไปใช้บริการมากที่สุด คือ ร้านโชคดีฟาร์มาซี สาเหตุที่เลือกใช้บริการร้านขายยาเพราะเดินทางสะดวก ใกล้บ้าน โดยเมื่อมีอาการเจ็บป่วย ผู้บริโภคต้องการซื้อยา และตัวผู้บริโภคเองมีอิทธิพลต่อการมาใช้บริการร้านขายยา โดยมีวิธีการเลือกซื้อยาโดยการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับยาที่ต้องการซื้อจากเภสัชกรประจำร้านมากที่สุด (2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้บริการร้านขายยาของผู้บริโภคจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ จำนวนสมาชิกในครอบครัว ปรากฏว่า ผู้บริโภคที่มี เพศ อาชีพ และจำนวนสมาชิกในครอบครัว แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้บริการร้านขายยาของผู้บริโภคไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้บริโภคที่มีอายุ ระดับ การศึกษา และรายได้ที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมในการเลือกใช้บริการร้านขายยาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8668
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
128272.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons