กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/867
ชื่อเรื่อง: แนวคิดและบทบาททางการเมืองของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ที่มีต่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Political concepts and roles of field Marshall Sarit Thanarat that affected the development of the Northeast
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธโสธร ตู้ทองคำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
รุ่งพงษ์ ชัยนาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
กาญจนา วิสุทธิวัฒน์, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: สฤษดิ์ ธนะรัชต์, จอมพล, 2451-2506
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
การพัฒนาชุมชน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
ไทย -- การเมืองและการปกครอง -- กรุงรัตนโกสินทร์, 2501-2506.
ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- การเมืองและการปกครอง
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สาเหตุ ความเป็นมาและสภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดและบทบาททางการเมืองของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (2) แนวคิดและบทบาททางการเมืองของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ (3) ผลกระทบจากแนวคิดและบทบาททางการเมืองของจอมพลสฤษดิ์ธนะรัชฅ์ ที่มีต่อการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชฅ์ เป็นผู้นำที่เผด็จการอำนาจนิยมกล้าคิด กล้าทำ กล้าตัดสินใจ กล้ารับผิดชอบ เนื่องจากการอบรมกล่อมเกลา และประสบการณ์ทางการเมือง ได้รับอิทธิพลจากการศึกษาในโรงเรียนทหาร แสวงหาความชอบธรรมในการปกครองประเทศจากเหตุการณ์ทางการเมืองอันได้แก่ภัยจากลัทธิคอมมิวนิสต์และปัญหาทางเศรษฐกิจ อิทธิพลของธนาคารโลกและอิทธิพลเงินกู้จาก สหรัฐอเมริกา ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้การยอมรับในฐานะลูกหลาน (2) จอมพลสฤษคิ์ ธนะรัชต์ มีแนวคิดในปกครองแบบอำนาจนิยม สร้างฐานอำนาจโดยอาศัยกฎหมาย แนวคิดในการปกครองแบบพ่อปกครองลูก แนวคิดทุนนิยมสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนและต่างประเทศ การขยายตัวของภาครัฐไปสู่ชุมชนมากขึ้น ส่งผ่านแนวคิดและนโยบายไปสู่ประชาชน โดยอาศัยแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ ฉบับที่ 1 มาใช้พัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างมีระบบ เกิดการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง ความเป็นอยู่ของประชากรดีขึ้น ได้รับการศึกษาและการดูแลสุขภาพอนามัยอย่างทั่วถึงเศรษฐกิจดีขึ้น (3) ด้วยแนวคิดและบทบาททางการเมืองทำให้การเมืองหยุดชะงัก มีการปราบปรามลัทธิคอมมิวนิสต์ และมีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของชุมชน ที่หันไปให้ความสำคัญกับวัตถุเพิ่มมากขึ้น หนี้สินคนชนบทเพิ่มมากขึ้น เกิดแรงงานอพยพเข้าเมือง การบุกลุกทำลายป่า แหล่งอาหารตามธรรมชาติ ถูกรุกราน เป็นปัญหาสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2550
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/867
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib107676.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons