กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8685
ชื่อเรื่อง: กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Restorative justice with criminal liability of bodily harm offence
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัลย์ หอนพรัตน์
กัมม์ธร ทองทิพย์, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความผิด (กฎหมาย)
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับความผิดฐานทําร้ายร่างกายตามมาตรา 295 มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาถึงแนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับความผิดทางอาญา กระบวนการยุติธรรมทางอาญา และกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์โดยศึกษาถึงความรับผิดทางอาญาตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในความผิดฐานทําร้ายร่างกาย และศึกษากระบวนการยุติธรรม เชิงสมานฉันท์ รูปแบบ วิธีการและความเหมาะสมกับการนํามาใช้กับผู้กระทําความผิดฐานทําร้ายร่างกาย เพื่อวิเคราะห์การนํากระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้กับความผิดฐานทําร้ายร่างกาย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จะดําเนินการศึกษาค้นคว้าโดยอาศัยวิธีการ ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร โดยศึกษาจากข้อมูลเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นวิทยานิพนธ์ หนังสือ ตํารา วารสาร ตัวบทกฎหมาย ผลงานหรือรายงานการวิจัย บทความ สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ทางกฎหมาย และข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อรวบรวมข้อมูลนํามาประกอบการวิเคราะห์ เพื่อประเมินผลและข้อเสนอแนะต่อไป ผลจากการศึกษาพบว่า กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เป็นมาตรการทางเลือกของกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลักในการที่จะเบี่ยงเบนคดีลดปริมาณคดีที่จะขึ้นสู่ศาล อันเป็นการช่วยประหยัดเวลาและทรัพยากรทั้งช่วยในการเยียวยาแก้ไขทําให้ผู้เสียหายเกิดความพึงพอใจ ได้รับการฟื้นฟูโดยเร็วเป็นผลดีต่อตัวผู้กระทําความผิดที่ไม่ต้องมีประวัติติดตัว ทุกฝ่ายต่างได้รับผลประโยชน์ร่วมกันจึงควรนํากระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ควบคู่กับกระบวนการยุติธรรมทางอาญากระแสหลักโดยไม่จํากัด การนํามาใช้อยู่แต่เพียงความผิดอาญาอันยอมความได้เท่านั้นแต่ให้ สามารถนํามาใช้กับความผิดฐานทําร้ายร่างกายได้ด้วย แต่ไม่รวมถึงความผิดฐานทําร้ายร่างกายเป็นเหตุ ให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส สิ่งสําคัญเพื่อเป็นการตอบสนองต่อการให้โอกาสผู้กระทําความผิด ลดความ ขัดแย้ง ความโกรธแค้นกัน โดยไม่ต้องคํานึงถึงการลงโทษจําคุกแต่เพียงอย่างเดียว
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8685
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_149995.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons