Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8698
Title: | การประเมินผลการดำเนินงานของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ |
Other Titles: | Implementing evaluation of Phrae Provincial Industrial Office |
Authors: | จีระ ประทีป นันท์ชนก กอบคำ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ การประเมินผลงาน การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลการดําเนินงานของสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ ใน 4 ด้าน คือด้านการเงิน ด้านกระบวนการภายใน ด้านประชาชนผู้รับบริการ และด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (2) ศึกษาปัญหาในการดําเนินงานของสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ (3) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาการดําเนินงานของสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ ประชากร คือ พนักงานเจ้าหน้าที่ของสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ จํานวน 27 คน ศึกษาจากประชากรทั้งหมด ประชาชนที่มารับบริการเฉลี่ยประมาณเดือนละ 151 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มารับบริการในการเสียภาษีและชําระค่าธรรมเนียมต่างๆ จํานวน 110 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) ผลการปฏิบัติงานด้านการเงิน มีรายรับมากกว่ารายจ่ายทุกปี งบประมาณ ตั้งแต่ปี งบประมาณ พ.ศ.2556-2558 ด้านกระบวนการภายใน การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจชุม มีบุคลากรไม่เพียงพอ ด้านประชาชนผู้รับบริการ ความพึงพอใจของประชาชน ผู้รับบริการอยู่ในระดับมาก ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา การฝึกอบรม/สัมมนาของสํานักงานอุตสาหกรรม จังหวัดแพร่มีการพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องโดยมีอัตราการเข้าร่วมหลักสูตรการฝึกอบรม/สัมมนาเพิ่มขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี งบประมาณ พ.ศ.2556-2558 (2) ปัญหาในการดําเนินงานที่สําคัญ คือ ปัญหาด้านการเงิน ขาดแผนรองรับในการใช้จ่ายงบประมาณไม่ตรงตามจุดประสงค์หรือเป้าหมาย ปัญหา ด้านกระบวนการภายใน การบริหารจัดการ ด้านบุคลากรไม่ตรงกับความรู้ความสามารถ ขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ปัญหาด้านประชาชน ผู้รับบริการ ประชาชนยังขาดความเข้าใจในบทบาทอํานาจหน้าที่ของสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ ปัญหาด้านการเรียนรู้และการพัฒนา การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ยังไม่ทั่วถึง และยังไม่ครอบคลุมความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน (3) ข้อเสนอแนะ ในการแก้ไขปัญหาด้านการเงิน ควรมีการวางแผนล่วงหน้าในการใช้จ่ายงบประมาณโดยคํานึงถึงความเหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์ด้านกระบวนการภายในองค์การ ควรคํานึงถึงการบริหารจัดการ ด้านบุคลากร การสร้างความเข้าใจ ส่งเสริมให้บุคลากรมีการพัฒนาความรู้ในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ด้านประชาชนผู้รับบริการ ควรมีการประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ของสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัดแพร่ ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ควรมีการฝึกอบรมหรือฝึกทักษะบุคลากรอยางทั่วถึง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการในการปฏิบัติงานและให้บริการประชาชน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8698 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
152268.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License