Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8700
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สังวรณ์ งัดกระโทก | th_TH |
dc.contributor.author | คมสันต์ พิพัฒน์วุฒิกุล, 2516- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-08-10T01:16:05Z | - |
dc.date.available | 2023-08-10T01:16:05Z | - |
dc.date.issued | 2556 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8700 | en_US |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลการดำเนินงานของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา (2) ศึกษาผลของการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และ (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ผู้ให้ข้อมูลประเมินประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา เจ้าหน้าที่/ครูผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 180 โรงเรียน ซึ่งเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเป็นระบบจากกรอบการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามโรงเรียน และครู และแบบบันทึกข้อมูลผลการทดสอบโอเน็ตของโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการดำเนินงานของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนและด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก และด้านการจัดการศึกษา ด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา และด้านมาตรการส่งเสริมมีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเยี่ยม ส่วนผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากถึงดีเยี่ยม (2) ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษามาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนมีผลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทย สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ สุขศึกษาและพลศึกษา และวิชาศิลปะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 แต่ไม่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ และผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษามาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ส่งผลทางลบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษามาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนมีผลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนรวมทุกรายวิชา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ (3) ปัจจัยการใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาซึ่งเป็นมิติหนึ่งของวัฒนธรรมการประเมินของสถานศึกษามีผลทางบวกต่อผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียน และด้านมาตรการส่งเสริม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.relation.uri | https://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2013.26 | en_US |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | ประกันคุณภาพภายใน | th_TH |
dc.subject | ประกันคุณภาพการศึกษา | th_TH |
dc.subject | โรงเรียนมัธยมศึกษา--ไทย--การประเมิน | th_TH |
dc.title | การประเมินประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา | th_TH |
dc.title.alternative | Effectiveness evaluation of internal quality assurance implementional by secondary schools | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were (1) to assess the quality assurance performance of secondary schools; (2) to assess effects of internal quality assurance performance of the school on student achievement; and (3) to examine factors affecting quality of internal educational quality assurance of secondary schools. A sample of 180 schools was drawn using a systematic sampling from the sampling frame. Evaluation data were obtained from diverse groups of the chosen 180 schools that included secondary school administrators, staff/teachers who were in charge of school quality assurance, and classroom teachers. Research tools used to collect data were school and teacher questionnaires and data entry forms used to collect scores on the Ordinary National Education Test (O-NET). Statistics used in data analysis were the percentage, mean, standard deviation, factor analysis, and multiple regression analysis. The evaluation results indicated that: (1) the school internal quality assurance performance in the student quality dimension and the creation of the school as a learning society dimension were outstanding; whereas the educational administration dimension, the school identity dimension, and the promotion measure dimension were judged as excellent, and the overall quality of the internal quality assurance ranged from very good to excellent; (2) the internal quality assurance performance in the dimension of student quality standard had a positive effect on learning achievement in courses in the Thai Language; Mathematics; Social Studies, Religion and Culture, Health and Physical Education, and Arts Learning Areas, which were statistically significant at the .05 level, but had no significant effect on learning achievement in the Science Learning Area; but the internal quality assurance performance in the dimension of creation of school as a learning society had a negative and significant effect on student achievement in the Occupations and Technology Learning Area at the .05 level; while the internal quality assurance performance in the dimension of student quality had a positive effect on student achievement as measured by the combined O-NET scores of all subjects, which was statistically significant at the .05 level; and (3) the factor of using feedback data to mobilize school improvement which was a dimension of the school evaluation culture had positive impacts on the student quality dimension and the promotion measure dimension, which were statistically significant at the .05 level. | en_US |
dc.contributor.coadvisor | นลินี ณ นคร | th_TH |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
139865.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License