กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8700
ชื่อเรื่อง: การประเมินประสิทธิผลของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effectiveness evaluation of internal quality assurance implementional by secondary schools
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สังวรณ์ งัดกระโทก, อาจารย์ที่ปรึกษา
นลินี ณ นคร, อาจารย์ที่ปรึกษา
คมสันต์ พิพัฒน์วุฒิกุล, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
ประกันคุณภาพภายใน
ประกันคุณภาพการศึกษา
โรงเรียนมัธยมศึกษา -- ไทย -- การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลการดำเนินงานของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา (2) ศึกษาผลของการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และ (3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา ผู้ให้ข้อมูลประเมินประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา เจ้าหน้าที่/ครูผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 180 โรงเรียน ซึ่งเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบเป็นระบบจากกรอบการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามโรงเรียน และครู และแบบบันทึกข้อมูลผลการทดสอบโอเน็ตของโรงเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการดำเนินงานของการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียนและด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้มีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก และด้านการจัดการศึกษา ด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา และด้านมาตรการส่งเสริมมีผลการประเมินอยู่ในระดับดีเยี่ยม ส่วนผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับดีมากถึงดีเยี่ยม (2) ผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษามาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนมีผลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทย สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ สุขศึกษาและพลศึกษา และวิชาศิลปะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 แต่ไม่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ และผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษามาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ส่งผลทางลบต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในรายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ส่วนผลการประเมินคุณภาพภายในของสถานศึกษามาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียนมีผลทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนรวมทุกรายวิชา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ (3) ปัจจัยการใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการศึกษาซึ่งเป็นมิติหนึ่งของวัฒนธรรมการประเมินของสถานศึกษามีผลทางบวกต่อผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาด้านคุณภาพผู้เรียน และด้านมาตรการส่งเสริม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8700
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
139865.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons