Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8701
Title: | การวิเคราะห์ผลกระทบของการเรียนพิเศษต่อมูลค่าเพิ่มและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |
Other Titles: | Impact analysis of cram school's effects on educational value-added outcomes and educational inequality in science study at the upper secondary level |
Authors: | สังวรณ์ งัดกระโทก อีซา หอมหวน, 2528- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นลินี ณ นคร |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา-- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การสอนเสริม วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินผลกระทบของการเรียนพิเศษต่อมูลค่าเพิ่มและ ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบขนาดผลกระทบของการเรียนพิเศษ คุณภาพของครูและคุณภาพของผู้บริหารสถานศึกษาต่อมูลค่าเพิ่มและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 119 โรงเรียน และมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1,383 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วยตัวแปรอิสระ คือ การเรียนพิเศษของนักเรียน คุณภาพของครู และผู้บริหารสถานศึกษาที่ได้มาจากผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) และตัวแปรตาม คือ มูลค่าเพิ่มทางการศึกษาและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของคะแนนสอบจากแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามภูมิหลังและการเรียนพิเศษของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์พหุระดับ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การเรียนพิเศษของนักเรียนมีผลกระทบทางบวกต่อมูลค่าเพิ่มและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนคุณภาพของครูผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา ไม่มีผลต่อมูลค่าเพิ่มและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของโรงเรียน ผลจากการวิจัยสรุปได้ว่า การเรียนพิเศษของนักเรียนอาจทำให้การประเมินคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนที่วัดจากคะแนนสอบบิดเบือนและไม่ชัดเจน งานวิจัยนี้ได้นำเสนอแนวทางเกี่ยวกับการประเมินโรงเรียนและครูให้มีคุณภาพมากขึ้น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8701 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
140070.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License