Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8703
Title: | แบบจำลองศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสำหรับศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 |
Other Titles: | model of educational technology and communications center for school network centers unders under Pattani Primary Education Service Area Office 2 |
Authors: | ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ ณัฐกิตติ์ ปานถาวร, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรางคณา โตโพธิ์ไทย |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ศูนย์การเรียน--ไทย--ปัตตานี |
Issue Date: | 2556 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสำหรับศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 22 คน ครู จำนวน 245 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จำนวน 19 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการ แบบสอบถามสำหรับเทคนิคเดลฟาย และแบบประเมินแบบจำลอง สถิติที่ใช้สำหรับการวิเคระห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าพิสัยควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่าผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าแบบจำลองที่ได้มีความเหมาะสมและมี ความเป็นไปได้ แบบจำลองศูนย์เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาสำหรับศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 มีองค์ประกอบดังนี้ (1) นโยบาย (2) ประโยชน์ (3) ประเภทของสื่อการเรียนการสอน (4) รูปแบบอาคารสถานที่ (5) การจัดหาสื่อการเรียนการสอน (6) บทบาทหน้าที่ ครอบคลุมงานบริหาร งานวิชาการ และงานบริการ (7) เจ้าหน้าที่ (8) การบริการและให้ความสะดวก (9) งบประมาณ และ (10) การประเมิน ทั้งนี้การดำเนินการทั้งหลายต้องคำนึงถึงความหลากหลายด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะพื้นที่ของศูนย์เครือข่ายสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีห้องละหมาดไว้บริการ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8703 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
140659.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License