กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8709
ชื่อเรื่อง: ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อน้ำมันไบโอดีเซลในเขตกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Consumer's attitude toward bio-diesel in Bangkok metropolis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธนา ธรรมเจริญู, อาจารย์ที่ปรึกษา
เชิดศักดิ์ พยัคฆ์จำเริญ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: เชื้อเพลิงไบโอดีเซล
ผู้บริโภค--ไทย--กรุงเทพฯ--ทัศนคติ.
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาถึงทัศนคติของผู้บริโภคได้แก่ ด้านความเข้าใจ ด้านความรู้ลืก และด้านพฤติกรรม ที่มีต่อนํ้ามันไบโอดีเซลในเขตกรุงเทพมหานคร (2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของระดับทัศนคติจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชากรที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และเป็นเจ้าของหรือใช้รถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล จำนวน200คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งเป็นแบบคำถามที่มีหลายคำตอบให้เลือก และใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ค่าร้อยละ ในการทดสอบสมมติฐานใช้การทดสอบ คำนวณ t-test และ F- test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ( One way ANOVA) และ การเปรียบเทียบเป็นรายคู่ LSD กำหนดค่าระดับนัยสำคัญเชิงสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยศึกษาพบว่าลักษณะของกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร เป็น เพศหญิงคิดเป็นอัตราร้อยละ 50.5 และเพศชาย คิดเป็นอัตราร้อยละ 49.5 ส่วนมากมีอายุระหว่าง 26-33 ปี คิดเป็นอัตราร้อยละ 42.0 ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนคิดเป็นอัตราร้อยละ 64.5 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นอัตราร้อยละ54.5 มีรายได้เดือนละ10,001 -20,000บาท คิดเป็นอัตราร้อยละ 45.0 ระดับทัศนคติโดยรวมของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อนํ้ามันไบโอดีเซลอยู่ใน ระดับดี โดยมีระดับทัศนคติด้านความเช้าใจดี มีทัศนคติด้านความรู้สึกดี และทัศนคติด้านพฤติกรรมสนับสนุน จากการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านระดับรายได้ มีผลต่อทัศนคติทุกด้านอย่างชัดเจน รองลงมาคือ อาชีพ และระดับการศึกษา มีผลต่อทัศนคติด้านความเข้าใจและทัศนคติด้านพฤติกรรม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8709
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
109317.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons