กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8722
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effects of using a guidance activities package emphasizing group activities to develop social adjustment of Mathayom Suksa I students of Anuban Nog Pakhrang School in Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
วริศรา ติคำ, 2514- ผู้แต่ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --การศึกษาเฉพาะกรณี
การปรับตัวทางสังคม
การแนะแนวการศึกษา
กลุ่มสัมพันธ์
การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง ประชากรคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง จำนวน 62 คน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้การศึกษาประกอบด้วย (1) แบบสอบถามการปรับตัวทางสังคม (2) ชุดกิจกรรมแนะแนวที่เน้นกิจกรรม กลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาการปรับตัวทางสังคม มี 5 ด้าน ประกอบด้วย (ก) ด้านการเข้าใจตนเองและผู้อื่น (ข) ด้านการสร้างสัมพันธภาพผู้อื่น (ค) ด้านการจัดการความขัดแย้งระหว่างบุคคล (ง) ด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น และ (3) ด้านการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษาปรากฏว่า (1) การปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอนุบาลหนองป่าครั่ง ทั้งโดยรวมและรายด้านคือ ด้านการเข้าใจตนเองและผู้อื่น ด้านการสร้างสัมพันธภาพ ด้านการจัดการความขัดแย้งระหว่างบุคคล ด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น และด้านการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข พบว่าอยู่ในระดับมาก และ (2) การปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการปรับตัวทางสังคม เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .01.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8722
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_165730.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons