กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8734
ชื่อเรื่อง: | ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวันทีสถิตย์พิทยาคม จังหวัดพิจิตร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effects of using a guidance activities package to develop skills to deal with emotions and stress of Higher Secondary students at Wanteesathit Phittayakhom School in Phichit Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วัลภา สบายยิ่ง สุณีย์ พุทธา, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นิรนาท แสนสา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--วิทยานิพนธ์ การแนะแนว--กิจกรรมการเรียนการสอน ความเครียดในวัยรุ่น--ไทย--พิจิตร |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวันทีสถิตย์พิทยาคม จังหวัดพิจิตร ในกลุ่มทดลองที่ได้ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียด และ ในกลุ่มควบคุมที่ได้ใช้กิจกรรมแนะแนวอื่น (2) เปรียบเทียบทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียดของกลุ่มทดลองที่มีลักษณะชีวสังคมและสัมพันธภาพในครอบครัวแตกต่างกัน และ (3) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียดของกลุ่มทดลอง ระยะหลังทดลองและระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนวันทีสถิตย์พิทยาคม จังหวัดพิจิตร ปีการศึกษา 2556 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างละ 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แบบประเมินทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียด มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .76 (2) แบบประเมินสัมพันธภาพในครอบครัว มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .75 (3) ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียด และ (4) กิจกรรม แนะแนวอื่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน 2 ทาง ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนวันทีสถิตย์พิทยาคม ในกลุ่มทดลองที่ได้ใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียด มีทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียดสูงกว่านักเรียนในกลุ่มควบคุมที่ได้ใช้กิจกรรมแนะแนวอื่น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่มีลักษณะทางชีวสังคม และสัมพันธภาพ ในครอบครัวต่างกัน มีทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียดไม่แตกต่างกัน และ (3) นักเรียน กลุ่มทดลอง มีทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียดทั้งระยะหลังทดลองและระยะติดตามผล ไม่แตกต่างกัน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8734 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
142728.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.68 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License