Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8748
Title: ปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมของร้านขายยาในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Factors affecting the decisions on drugs buying from Government Pharmaceutical Organization of Drug Stores in Bangkok Metropolis
Authors: เสาวภา มีถาวรกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สารัช ศรีนพรัตน์วัฒน, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
องค์การเภสัชกรรม
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2551
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระมีวัตถุประสงค์ !) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อยาจากองค์การเภสัช กรรมของร้นขายยาในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่ใช้ในการตัดสินใจซื้อยา จากองค์การเภสัชกรรมของร้านขายยาในเขตกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวกับ ผู้ประกอบการร้านขายยาที่ซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมกับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรม ของร้านขายยาในเขตกรุงเทพมหานคร และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับ พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมของร้านขายยาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ทำการวิจัย ได้แก่ ร้านขายยาที่สั่งซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมในเขต กรุงเทพมหานคร จำนวน 210 ร้าน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ซึ่งผลการวัดค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.72 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติทดสอบค่าได - สแควร์ ผลการศึกษา พบว่า พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อยาองค์การเภสัชกรรมของร้านขายยาในเขต กรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการสั่งซื้อยาจากองค์การเภสัชกรรมมากที่สุด ได้แก่ ลูกค้า ความถี่ในการตัดสินใจซื้อยามากที่สุดคือ เดือนละ 1 ครั้ง จำนวนเงินของการสั่งซื้อยาต่ำกว่า 10,000 บาท ช่องทาง ในการสั่งซื้อยาที่นิยมที่สุด ได้แก่ ผ่านตัวแทนยา สาเหตุการสั่งซื้อยาสูงที่สุด ได้แก่ เชื่อถือในองค์การเภสัชกรรม วัตถุประสงค์ในการสั่งซื้อขามากที่สุดคือเพื่อจำหน่ายแก่ผู้ป่วยโดยตรง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ให้ระดับความสำคัญ มากที่สุดในการตัคสินใจซื้อยาค้านผลิตภัณฑ์ คือ มีการรับคืนยาในกรณีที่สินค้าเหลือ และกำลังหมดอายุ ด้าน ราคา คือ ยาราคาถูกกว่าคู่แข่งขัน ด้านการจัดจำหน่าย คือ พนักงานขายยาขององค์การเภสัชกรรมมีความสุภาพ ค้านการส่งเสริมการตลาดคือ มีการแนะนำยาที่มีการผลิตออกมาใ หม่ให้กับร้านขายยาทราบเสมอ ความสัมพันธ์ ระหว่างส่วนประสมการตลาด กับ การตัดสินใจซื้อยาของร้านขายยาด้านผลิตภัณฑ์ มีความสัมพันธ์ต่อระดับการ ตัดสินใจซื้อยาในปัจจัยบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการสั่งซื้อยา ความถี่ในการซื้อยา จำนวนเงินที่ใช้ในการสั่งซื้อยา ช่องทางในการซื้อยาของร้านขายยา ด้านราคามีความสัมพันธ์ต่อระดับการตัดสินใจซื้อยาในปัจจัยบุคคลที่มี อิทธิพลต่อการสั่งซื้อยา ความถี่ในการซื้อยา ช่องทางในการซื้อยาของร้านขายยา ด้านการจัดจำหน่ายมี ความสัมพันธ์ต่อระดับการตัดสินใจซื้อยาในปัจจัยบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการสั่งซื้อยา ความถี่ในการซื้อยา จำนวน เงินที่ใช้ในการสั่งซื้อยา ช่องทางในการซื้อยาของร้านขายยา ด้านการส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์ต่อระคับ การตัดสินใจซื้อยาในปัจจัยบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการสั่งซื้อยา ความถี่ในการซื้อยา จำนวนเงินที่ใช้ในการสั่งซื้อยา ช่องทางในการซื้อยา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8748
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
115729.pdf4.33 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons