Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8766
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อความภาคภูมิใจในตนเองของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: Factors affecting self-esteem of elderly people in Udon Ratchathani Province
Authors: วัลภา สบายยิ่ง
กาญจนรัตน์ คำเพชรดี, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นิรนาท แสนสา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--วิทยานิพนธ์
ผู้สูงอายุ
ความนับถือตนเองในผู้สูงอายุ
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความภาคภูมิใจในตนเองของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ ในจังหวัดอุบลราชธานี (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความสำเร็จในอาชีพ และการได้รับการ ยอมรับนับถือ กับความภาคภูมิใจในตนเองของผู้สูงอายุ (3) ศึกษาอำนาจการทำนายของการรับรู้ ความสำเร็จในอาชีพ และการได้รับการยอมรับนับถือ เพื่อการทำนายความภาคภูมิใจในตนเองของ ผู้สูงอายุ และ (4) เปรียบเทียบความภาคภูมิใจในตนเองของผู้สูงอายุ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุจำนวน 385 คน ที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ได้จากการสุ่ม ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการรับรู้ความสำเร็จในอาชีพ การได้รับการ ยอมรับนับถือ และความภาคภูมิใจในตนเอง ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ มี ค่าความความเทียงเท่ากับ .94, .81 และ .80 สถิติทีใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบียงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ และการ ทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความภาคภูมิใจในตนเองของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในจังหวัด อุบลราชธานี อยู่ในระดับสูง (2) การรับรู้ความสำเร็จในอาชีพ และการได้รับการยอมรับนับถือ มี ความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง กับความภาคภูมิใจในตนเองของผู้สูงอายุ (r = .60 และ r = .67) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) การรับรู้ความสำเร็จในอาชีพ และการได้รับการยอมรับนับถือ สามารถร่วมกันทำนายความภาคภูมิใจในตนเองของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 52.8 โดยเขียนสมการได้ดังนี้ ZSelf esteem = .488Respect + .334Career และ (4) ผู้สูงอายุที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ แตกต่างกัน มีความภาคภูมิใจในตนเอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้สูงอายุที่มีเพศ สถานภาพการสมรส และลักษณะการอยู่อาศัยแตกต่างกัน มีความภาคภูมิใจในตนเองไม่แตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8766
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
144201.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.94 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons