Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8780
Title: ชุดฝึกอบรมเรื่องการบริบาลทารกสำหรับมารดาในจังหวัดภาคเหนือ
Other Titles: Training packages on infantile nursing for mothers in the northern provinces
Authors: ทิพย์เกสร บุญอำไพ
มาลี ช่วยทอง, 2503 -
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นิคม ทาแดง
พรจันทร์ สุวรรณชาต
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--วิทยานิพนธ์
ทารก--การดูแล--การสอนด้วยอุปกรณ์.--ไทย (ภาคเหนือ)
มารดาและทารก--การฝึกอบรม.--ไทย (ภาคเหนือ)
Issue Date: 2539
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: เป้าหมายของการดำเนินงานด้านสาธารณสุขที่สำคัญที่สุดก็เพื่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้า ของประชาชนในชาติ และสามารถดำรงอยู่ได้ในชีวิตประจำวันโดยการให้ประชาชน มีความรู้ความ เข้าใจและทักษะปฏิบัติในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องด้วยตนเอง แต่ปัจจุบันยังพบว่าสาเหตุการตาย ของทารกยังสูงอยู่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามารดายังขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะในการบริบาล ทารก ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้พัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่อง การบริบาลทารกขึ้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ คือ เพื่อสร้างชุดฝึกอบรมตามระบบชุดการสอน แผนจุฬาแบบประกอบการบรรยาย เรื่องการบริบาลทารกสำหรับมารดาในจังหวัดภาคเหนือ ให้มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ จากการใช้ชุดฝึกอบรมโดย เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างก่อนและหลังอบรม ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 "การบริบาลโดยผู้รับการฝึกอบรมและวิทยากรมีความคิดเห็นในทางบวกต่อชุดฝึกอบรมเรื่อง ทารก" กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดสอบประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมเป็นมารดาอายุ 15-44 ปีที่มี บุตรอายุ 0-1 ปี และจบการศึกษาอย่างต่ำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในเขตตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) ชุดฝึกอบรมเรื่อง "การบริบาลทารก" ซึ่งพัฒนาตามระบบชุดการสอนแผนจุฬาแบบประกอบการ บรรยาย จำนวน 6 หน่วยได้แก่เรื่องแนวคิดเกี่ยวกับการบริบาลทารก การดูแลสุขภาพทารก โภชนาการสำหรับทารก การเจริญเติบโตและพัฒนาการสำหรับทารก การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค แก่ทารกและโรคและปัญหาที่พบในทารก 2) แบบทดสอบก่อนอบรมและหลังอบรมแบบคู่ขนาน และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เข้ารับการฝึกอบรมและวิทยากรที่มีต่อชุดฝึกอบรม ผลการวิจัยพบว่า ชุดฝึกอบรมที่สร้างขึ้นทั้ง 6 หน่วยมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ผู้เข้า อบรมมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ จากชุดฝึกอบรมโดยผลสัมฤทธิ์หลังอบรมสูงกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เข้าอบรมและวิทยากรชอบการอบรมจากชุดอบรมใน ระดับดี
Description: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2539
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8780
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT_50035.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.58 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons