กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8788
ชื่อเรื่อง: ยุทธศาสตร์การดำเนินงานของศาลจังหวัดพะเยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strategies for operations of Phayao Court
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธัญชนก ผันอากาศ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ศาล--การบริหาร.--ไทย--พะเยา
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษายุทธศาสตร์การดำเนินงานของศาลจังหวัดพะเยา" มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมของศาลจังหวัดพะเยา (2) สนอยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ และโครงการการดำเนินงานของศาล จังหวัดพะเยา ประชากรคือข้าราชการธุรการศาลจังหวัดพะเยา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาใช้วิธีการสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม และโครงการกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานของ ศาลจังหวัดพะเยา โดยใช้การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค เป็นเครื่องมือวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์ และใช้ ตารางโทว์ในการวิเคราะห์เพื่อนำไปกำหนดยุทธศาสตร์ และการกำหนดกลยุทธ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพแวดล้อมของการดำเนินงานของศาลจังหวัดพะเยา ประกอบด้วย จุดแข็ง คือมีอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณ มีระเบียบ วินัย คำสั่ง ระเบียบข้อบังคับตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการ และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการให้เป็นไปอย่างคล่องตัวมีประสิทธิภาพ จุดอ่อน คือความไม่ สอดคล้องของระยะเวลาในการจัดสรรงบประมาณกับแผนการ และระยะเวลาการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารในปีแรกไม่สอด รับกับนโยบาย ไม่สามารถประเมินผลสัมฤทธิ์ของการจัดโครงการได้ เนื่องจากเป็นการจัดทำเพียงระดับผลผลิต โอกาส คือ ทำให้มีโอกาสได้ศึกษา และการปรับใช้กฎหมายที่เอื้อต่อการทำงาน โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ให้ประชาชนได้รับสิทธิในกระบวนการยุติธรรม จากมาตรา 40 มากยิ่งขึ้น อุปสรรค ภาวะด้านเศรษฐกิจ ทำให้ปริมาณคดีแพ่ง คดีแรงงาน มีแนวโน้มเพิ่มสูงมากขึ้น (2) ข้อเสนอยุทธศาสตร์การดำเนินงานของศาลจังหวัดพะเยา ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาระบบการให้บริการสู่ความเป็นเลิศประกอบด้วยกลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบการให้บริการ แก่ประชาชนกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรในด้านการให้บริการยุทธศาสตร์ที่ 2 การให้บริการ ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยกลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกล ยุทธ์การส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้พัฒนาระบบงานเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงง่ายยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนา ความรู้ทางด้านกฎหมาย ประกอบด้วยกลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางด้านวิชาการด้านกฎหมาย กลยุทธ์การ เผยแพร่ข้อมูลด้านกฎหมายให้แก่ประชาชนยุทธศาสตร์ที่ 4 การยกระดับระบบงานธุรการให้มีมาตรฐานประกอบด้วยกล ยุทธ์การพัฒนาระบบงานธุรการให้มีมาตรฐานกลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพในงานธุรการยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมการ พัฒนาบุคลากรที่ดีมีคุณธรรม จริยธรรมประกอบด้วยกลยุทธ์การส่งเสริมการต่อต้านการทุจริต กลยุทธ์การสร้างต้นแบบที่ ดีด้านคุณธรรม จริยธรรมของข้าราชการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8788
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
154748 (2).pdfเอกสารฉบับเต็ม3.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons