กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8797
ชื่อเรื่อง: การรับรู้ภาพลักษณ์ของ "สเวนเซ่นส์" ในมุมมองของลูกค้าวัยรุ่น อำเภอเกาะสมุย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Perceptions of "Swensen" Image by teen's customers perspective in Koh Samui District
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุรีย์ เข็มทอง
ณชลนิภา ทวีรัตน์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: สเวนเซ่นส์
ความพอใจของผู้บริโภค--ไทย--สุราษฎร์ธานี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการรับรู้ภาพลักษณ์ “สเวนเซ่นส์” ของลูกค้าวัยรุ่น อำเภอเกาะสมุย (2) พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้า“สเวนเซ่นส์” ของลูกค้าวัยรุ่น อำเภอเกาะสมุย (3) ปัจจัยส่วนบุคคลของลูกค้าวัยรุ่น อำเภอเกาะสมุย ที่มี ความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของ “สเวนเซ่นส์” ประชากรคือ ลูกค้าวัยรุ่นที่เข้ามาบริโภคผลิตภัณฑ์ภายใต้ตราสินค้า “สเวนเซ่นส์” อำเภอเกาะสมุย จำนวนทงสน 6,381 คน ณ เดือนมกราคม พ.ศ. 2556 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ได้จำนวน 380 คน โดยใช้วิธีการคำนวณและสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูล คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1)การรับรู้ภาพลักษณ์“สเวนเซ่นส์” ของลูกค้าวัยรุ่นผู้ตอบแบบสอบถาม อำเภอเกาะสมุย โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ภาพลักษณ์ด้านตราสินค้ามีความสำคัญมากที่สุด และรองลงมา คือภาพลักษณ์ด้านผลิตภัณฑ์ (2) พฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าวัยรุ่นส่วนใหญ่พบว่า มาใช้บริการที่ร้านสเวนเซ่นส์ ประมาณ 2-3 ครั้ง ต่อเดือนโดยแต่ละครั้งพบว่า นิยมบริโภคประเภทไอศกรีมที่ตกแต่งแล้ว และมีในเมนูของร้าน มีค่าใช้จ่าย ในการบริโภคต่อครั้งคิดเป็นจำนวนเงินประมาณ 100 - 300บาท ซึ่งผู้ร่วมบริโภคส่วนใหญ่เป็นเพื่อน ช่วงเวลาที่เข้ามาใช้บริการส่วนใหญ่พบว่า เป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ในช่วงเวลาหลังเที่ยง ส่วนใหญ่ เดินทางมาใช้บริการด้วยรถส่วนตัวและ (3) ปัจจัยส่วนบุคคลของลูกค้าวัยรุ่นที่เกี่ยวกับ เพศอายุอาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนพบว่า มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ภาพลักษณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8797
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
135876.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.93 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons