กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8803
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: People's participation in making sub-district development plan of Nareng Municipality Sub-district, Noppitum District in Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พนมพัทธ์ สมิตานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชนาธินาถ ชัชวาลย์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
เทศบาลตำบลนาเหรง--การวางแผน--การมีส่วนร่วมของประชาชน
เทศบาลตำบลนาเหรง (นครศรธรรมราช)--การบริหาร--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการ จัดทำแผนพัฒนาของเทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) ปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาของเทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช และ (3) ปัญหาและแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 7,457 คน คำนวณตามสูตรของทาโร ยามาเน่ ได้จำนวน 378 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา เทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช อยู่ในระดับมาก (2) ปัจจัยที่สนับสนุน การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลตำบลกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ในการจัดทำแผนพัฒนาของเทศบาลตำบลนาเหรง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีความ สัมพันธ์กันในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (3) ปัญหาในการส่งเสริมการเข้า มามีส่วนร่วมของประชาชน คือขาดความร่วมมือจากประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนา ประชาชน ยังไม่ค่อยเข้าใจกฎหมายและการจัดทำแผนพัฒนา และการประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง ส่วนแนวทาง การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน คือ ควรสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในด้านต่างๆ ทุกๆ ด้าน ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการค้นหาสาเหตุของปัญหา และควรให้ประชาชนมีส่วนร่วม ในการดำเนินการอย่างเต็มที่
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8803
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
154870.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons