กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8811
ชื่อเรื่อง: | การประเมินการดำเนินงานการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในโรงเรียนโสตศึกษา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Evaluation of the operation of learning outcome measurement and evaluation work based on the basic education curriculum, B.E. 2551 in the schools for the deaf |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณ์ดี แสงประทีปทอง วราวุธ วดีวรวิทย์, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี การวัดผลทางการศึกษา การประเมินผลทางการศึกษา การศึกษาอิสระ--การวัดและประเมินผลการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินปัจจัยเบื้องต้นในการดำเนินงานการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในโรงเรียนโสตศึกษา (2) ประเมินกระบวนการดำเนินงานการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในโรงเรียนโสตศึกษา และ (3) ศึกษาปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการพัฒนางาน การวัดและประเมินผลในโรงเรียนโสตศึกษา ผู้ให้ข้อมูล คือ หัวหน้างาน 4 งาน ได้แก่ งานการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ งานการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์งานการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนและงานการประเมิน กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน งานละ 1 คน ต่อโรงเรียน จำนวน 20 โรงเรียน รวม 80 คน เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงานการวัดและประเมินผล จำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เบื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ด้านปัจจัยเบื้องต้น ส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์การประเมินโดยโรงเรียนโสตศึกษามีบุคลากรที่รับผิดชอบงานการวัดและประเมินผลอย่างน้อยงานละ 1 คน มีการจัดสรร งบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อพัฒนางานการวัดและประเมินผล มีการจัดทำระเบียบว่าด้วยการวัดและและ ประเมินผลการเรียนของสถานศึกษา แต่ไม่มีการอบรมให้ความรู้ในเรื่องการวัดและการประเมินผลการ เรียนรู้ให้บุคลากร (2) ด้านกระบวนการ ส่วนใหญ่ผ่านเกณฑ์การประเมิน โรงเรียนโสตศึกษาดำเนินการ วัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามแนวทางของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งรูปแบบ วิธีการโดยมีการปรับวิธีการให้เหมาะสมกับธรรมชาติของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน และ (3) ด้านปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะ และแนวทางในการพัฒนางานการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ในโรงเรียนโสตศึกษา ส่วนใหญ่เห็นว่าการจัดสอบโดยใช้ข้อสอบเดียวกับผู้เรียนทั่วไปยังไม่เหมาะสม เสนอแนะให้มีการสอบเป็นการเฉพาะนักเรียนหูหนวกมีปัญหาด้านการอ่าน และการเขียนกิจกรรมที่วัด ไม่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน และควรมีการอบรมให้ความรู้ครูในเรื่องการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ ควรมีแผนการนิเทศและดำเนินการตามที่กำหนดเป็นระยะเพื่อให้มีแนวปฏิบัติ ในทางเดียวกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8811 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_155558.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.26 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License