กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8824
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรของผู้บริโภคอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing mix factors influence customer's buying for the herbal product in Lumluka District, Prathumthanee Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุทธนา ธรรมเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุมินตรา ดุษิยามี, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: ผลิตภัณฑ์สมุนไพร--ไทย--ปทุมธานี
การซื้อสินค้า
ผลิตภัณฑ์สมุนไพร--การตลาด
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อ การซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพรของผู้บริโภค (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์แปร รูปจากสมุนไพร (3) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากรศาสตร์ของผู้บริโภค กลุ่มตัวอย่างมี จำนวน 234 ราย โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้เก็บ รวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม และนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ สถิติเชิงอนุมาน ซึ่งประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสมุนไพร ค้านผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคให้ความสำคัญระดับสูง ราคา การจัด จำหน่าย และการส่งเสริมการตลาคผู้บริโภคให้ความสำคัญระดับปานกลาง ประชากรศาสตร์ของผู้บริโภที่แตกต่างกันให้ความสำคัญต่อส่วนประสมการตลาดแตกต่างกัน คุณลักษณะทาง เพศ ระดับการศึกษาแตกต่างกันให้ความสำคัญต่อผลิตภัณฑ์แตกต่างกัน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ ระดับการศึกษาแตกต่างกันให้ความสำคัญต่อราคาแตกต่างกัน อายุ อาชีพ รายได้เฉถี่ยต่อเดือน และ ระดับการศึกษาแตกต่างกันให้ความสำคัญต่อการจัดจำหน่ายแตกต่างกัน เพศ และระดับการศึกษา แตกต่างกันให้ความสำคัญต่อการส่งสริมการตลาคแตกต่างกัน พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูป จากสมุนไพร มีวัตถุประสงค์ในการซื้อเพื่อใช้เองและให้คนในกรอบครัวใช้ ประเภทผลิตภัณฑ์ที่ ซื้อ คือ ยาสระผมสมุนไพร ประเภทส่วนผสมที่ซื้อส่วนมากเป็นมะขาม สาเหตุที่ซื้อมีประโยชน์ต่อ สุขภาพ และซื้อในช่วงเวลาหลังเลิกงาน เลิกเรียน แหล่งที่ซื้อซุปเปอร์มาร์เก็ต ปริมาณการซื้อครั้งละ 1-3 ขึ้น ค่าใช้จ่ายในการซื้อครั้ง ละ 1-250 บาท และความถี่ในการซื้อเดือนละ 1-3 ครั้ง ลักษณะทาง ประชากรศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 20-29 ปี อาชีพพนักงาน บริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,00 1 -20,000 บาท และระดับการศึกษาปริญญาตรี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8824
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
112559.pdf3.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons