กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8827
ชื่อเรื่อง: | กลยุทธ์การตลาดอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราในประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Marketing strategies para rubberwood furniture industry in Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร สุคนธ์ ขุนพิทักษ์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี อุตสาหกรรมเครื่องเรือน--การตลาด--ไทย ยางพารา--ไทย การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง กลยุทธ์การตลาดในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราของไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากลยุทธ์การตลาดของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราในประเทศไทย (2) ศึกษากลยุทธ์การตลาดของผู้นำตลาดอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราในประเทศไทย (3) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวโน้มกลยุทธ์การตลาดของอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราในประเทศไทย การศึกษาในครั้งนี้เป็นการศึกษาโดยการใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากบริษัทที่ประกอบการในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราในประเทศไทย 2 บริษัท ดังนี้ (1) บริษัท แฟนซีวัตอินคัสตรีส จำกัด (มหาชน) (2) บริษัท อีสโคส สต์ กรุ๊ป จำกัด และการสังเคราะห์ทฤษฎีโดยใช้แนวคิดทฤษฎีการตลาด ทฤษฎีกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดและกลยุทธ์การตลาด ผลการศึกษาพบว่า(1) กลยุทธ์การตลาดที่ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในอุดสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพาราใช้มี ดังนี้ กลยุทธ์านผลิตภัณฑ์ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการให้ความสำคัญต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การบริการที่สะดวกรวดเร็ว กลยุทธ์ด้านราคา ใช้กลยุทธ์การตั้งราคาแบบกำไรบวกเพิ่มและแบบคำนึงถึงคู่แข่งขัน กลยุทธ์ด้านการจัดจำหน่าย ใช้วิธีกระจายสินค้าผ่าน ยี่ปั่ว ซาปั๊ว ผู้ค้าปลีกกลยุทธ์ด้านการส่งเสริมการตลาดเลือก การจัดแสดงสินค้าตามงานมหกรรมสินค้าต่างๆ การจำหน่ายผ่านร้านค้าเฟอร์นิเจอร์ทั่วไปและใช้พนักงานขายติดต่อ โดยตรงเพื่อให้เกิดการรับรู้ผลิตภัณฑ์ (2) ปัญหาและอุปสรรคการทำตลาดในประเทศคือการเข้ามาของคู่แข่งขันในตลาดมีมาก ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อเฟอร์เจอร์ได้หลายรูปแบบ เช่นเฟอร์นิเจอร์ไม้สัก ไม้ประดู่ ไม้มะค่า ไม้อัด ไม้พาร์ติเคิลบอร์ด ฯลฯ (3) แนวโน้มกลยุทธ์การตลาดจะเติบโตได้อีกมาก ไม้ยางพารา สามารถหาได้ง่ายและราคาถูก ย้อมสีได้สวยงาม แปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์น็อกคาวพ์ที่ เคลื่อนย้ายได้สะดวก การแข่งขันจะรุนแรงมากขึ้นจากการที่ผู้ประกอบการหันมาทำตลาดในประเทศมากขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8827 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
109288.pdf | 3.41 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License