Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8829
Title: | ความพึงพอใจของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบุรีรัมย์ประสิทธิเวช |
Other Titles: | Customer satisfaction with OPD(out patient department) service in Buriram Prasitvej Hospital |
Authors: | เสาวภา มีถาวรกุล วรรณี ตั้งศรีเกียรติกุล, 2503- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี โรงพยาบาลบุรีรัมย์--ความพอใจของผู้ใช้บริการ บริการการพยาบาลของโรงพยาบาล--ไทย การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบุรีรัมย์ประสิทธิเวช ในคุณภาพบริการ (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อผู้ให้บริการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วย ผู้มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 140 คน เครื่องมือที่ใช้ป็นแบบสอบถามหลายตัวเลือกเกี่ยวกับข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคล และแบบมาตรประมาณค่าที่เกี่ยวข้องกับระดับความพึงพอใจ นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS หาความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในคุณภาพบริการในระดับมาก (ลิเคิร์ทสเกล มากกว่า 3.5) ร้อยละ 75.6 โดยมีความพึงพอใจในแต่ละด้าน ได้แก่ ความเชื่อถือไว้วางใจความปลอดภัยร้อยละ 79 การสื่อสารสัมพันธภาพ ร้อยละ 78.2 ความเหมาะสมของอาคารสถานที่ ร้อยละ 74.4 ความสะดวกรวดเร็ว ร้อยละ 738 การให้ความรู้คำแนะนำปรึกษา ร้อยละ 73.0 (2) ผู้รับบริการพึงพอใจผู้ให้บริการในระดับมาก (ลิเร์ทสเกล มากกว่า 3.5) ร้อยละ 72.6 โคยพึงพอใจแพทย์มากที่สุด ร้อยละ 82.8 พยาบาลร้อยละ 76 พนักงานห้องบัตร ร้อยละ 74.4 พนักงานลูกด้าสัมพันธ์ - การตลาด ร้อยละ 73.8 เจ้าหน้าที่ห้องยา ร้อยละ 73 เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ร้อยละ 72.8 เจ้าหน้าที่การเงิน ร้อยละ 70 เจ้าหน้าที่ห้องเอ็กซเรย์ ร้อยละ 68.6 พนักงานผู้ช่วยพยาบาล ร้อยละ 68.4 และพนักงานเข็นเปล ร้อยละ 66 การศึกษา ในครั้งนี้พบว่าผู้มารับบริการมีความพึงพอใจต่อคุณภาพการบริการ โดยมั่นใจในการรักษาของแพทย์ในระดับมากผู้ประกอบการจึงควรเพิ่มศักยภาพแพทย์ให้มีความเชี่ยวชาญแต่ละสาขาให้มาก ยิ่งขึ้น และปรับปรุงผู้รับบริการในระคับที่ช่วยสนับสนุนแพทย์ พยาบาล เช่น พนักงานผู้ช่วยและพนักงานเวรเปล ให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8829 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
This item is licensed under a Creative Commons License