Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8830
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกนารถ บุญวัฒนะกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวิกร ตัณฑวุฑโฒ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorศิริรัตน์ อินทรนิมิตร, 2511--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-08-15T00:41:15Z-
dc.date.available2023-08-15T00:41:15Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8830-
dc.description.abstractงานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของผู้สูงอายุ (2) ศึกษาความต้องการการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของผู้สูงอายุ (3) ศึกษาปัญหาการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของผู้สูงอายุ (4) สังเคราะห์แนวทางการการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ งานวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 357 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแนวทางการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา นอกจากนี้ยังมีการสนทนากลุ่ม เพื่อหาแนวทางการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 3 คน และประธานผู้สูงอายุระดับตำบล จำนวน 3 คน รวมทั้งหมด 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนนี้ ได้แก่ ประเด็นสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง (2) ความต้องการการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง (3) สำหรับปัญหาการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาด้านสุขภาพมากที่สุด รองลงมาคือปัญหาการเดินทางมาร่วมกิจกรรม และ (4) สำหรับแนวทางการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุ พบว่า ควรจัดกิจกรรมเป็นกลุ่มขนาดเล็ก 5-10 คน จัดกิจกรรมให้มีการลงมือปฏิบัติจริง ควรจัดเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีบทบาทร่วมกับครอบครัว เป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องเดินทางไกล ไม่เกิดปัญหาด้านสุขภาพ และควรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นที่ผู้สูงอายุสามารถนามาประกอบอาชีพได้ จัดให้มีกิจกรรมที่ผู้สูงอายุได้แสดงความคิดเห็นและการตัดสินใจในการดำเนินงานในบางส่วนบ้าง และผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้ว จึงควรส่งเสริมให้นำความรู้ที่มีอยู่มาใช้ในการดำรงชีวิตประจาวันth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการศึกษาตามอัธยาศัย -- กิจกรรมการเรียนการสอนth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การดูแล -- ไทย -- กระบี่th_TH
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การศึกษาและการสอนth_TH
dc.subjectการศึกษานอกระบบโรงเรียน -- ไทย -- กระบี่th_TH
dc.titleการศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง สำหรับผู้สูงอายุของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่th_TH
dc.title.alternativeStudy of the continuing educational activity management guideelines for the elderly of Ao Luck District non-formal and informal education center, Krabi Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to study the state of participation in continuing education activities of the elderly; (2) to study the needs for participation in continuing education activities of the elderly; (3) to study the problems of participation in continuing education activities of the elderly; and (4) to synthesize the guidelines for management of continuing education activities for the elderly of Ao Luek District Non-formal and Informal Education Center, Krabi province. The research sample consisted of 357 elderly people in Ao luek district, Krabi province, obtained by simple random sampling. The employed research instrument was a questionnaire on continuing education activity management guidelines for the elderly. Research data were analyzed using the percentage, mean, standard deviation, and content analysis. Also, a focus group discussion was organized involving nine people including three personnel from local administration organizations, three personnel from a health promoting hospital, and three chair persons of the group of elderly people at the sub-district level. The employed instrument was a form containing issues for focus group discussion. Discussion results were analyzed with content analysis. Research findings revealed that (1) the state of participation in continuing education activities of the elderly was rated at the moderate level; (2) the needs for participation in continuing education activities of the elderly were rated at the moderate level; (3) as for problems of participation in continuing education of the elderly, it was found that the most prevalent problem of the elderly for participation in continuing education activities was the health problem, followed by the travel problem; and (4) regarding the guidelines for management of continuing education activities for the elderly, it was found that the activities should be organized as group activities for small groups of 5 – 10 elderly people; they should be hands-on activities; they should be activities on taking care of health; they should be activities to promote roles of the elderly with their family members; they should be activities that do not require travel for a long distance that can cause health problems; short vocational training activities should be organized so that the elderly can take up as their occupation if needed; some activities should be organized to allow the elderly to voice their opinions and engage in decision making; and due to the fact that the majority of the elderly have had knowledge on sufficiency economy, they should be encouraged to apply the knowledge in their daily livingen_US
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
146549.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.11 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons