Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8830
Title: | การศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่อง สำหรับผู้สูงอายุของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ |
Other Titles: | Study of the continuing educational activity management guideelines for the elderly of Ao Luck District non-formal and informal education center, Krabi Province |
Authors: | ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล ศิริรัตน์ อินทรนิมิตร, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วิกร ตัณฑวุฑโฒ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบ--วิทยานิพนธ์ การศึกษาตามอัธยาศัย--กิจกรรมการเรียนการสอน ผู้สูงอายุ--การดูแล--ไทย--กระบี่ ผู้สูงอายุ--การศึกษาและการสอน การศึกษานอกระบบโรงเรียน--ไทย--กระบี่ |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของผู้สูงอายุ (2) ศึกษาความต้องการการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของผู้สูงอายุ (3) ศึกษาปัญหาการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของผู้สูงอายุ (4) สังเคราะห์แนวทางการการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ งานวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 357 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแนวทางการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุ ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา นอกจากนี้ยังมีการสนทนากลุ่ม เพื่อหาแนวทางการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่จากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จำนวน 3 คน และประธานผู้สูงอายุระดับตำบล จำนวน 3 คน รวมทั้งหมด 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนนี้ ได้แก่ ประเด็นสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) สภาพการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง (2) ความต้องการการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับปานกลาง (3) สำหรับปัญหาการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องของผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาด้านสุขภาพมากที่สุด รองลงมาคือปัญหาการเดินทางมาร่วมกิจกรรม และ (4) สำหรับแนวทางการจัดกิจกรรมการศึกษาต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุ พบว่า ควรจัดกิจกรรมเป็นกลุ่มขนาดเล็ก 5-10 คน จัดกิจกรรมให้มีการลงมือปฏิบัติจริง ควรจัดเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้มีบทบาทร่วมกับครอบครัว เป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องเดินทางไกล ไม่เกิดปัญหาด้านสุขภาพ และควรฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นที่ผู้สูงอายุสามารถนำมาประกอบอาชีพได้ จัดให้มีกิจกรรมที่ผู้สูงอายุได้แสดงความคิดเห็นและการตัดสินใจในการดำเนินงานในบางส่วนบ้าง และผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่แล้ว จึงควรส่งเสริมให้นำความรู้ที่มีอยู่มาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8830 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
146549.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License