Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8858
Title: คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจผู้ปฏิบัติงานด้านสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองยะลา และสถานีตำรวจภูธรยะหา จังหวัดยะลา
Other Titles: Quality of work life of the inquiry official in the Yala City Police Station and Yaha Police Station in Yala Province
Authors: เฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
จักรี ศิลปสถาปน์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
คุณภาพชีวิตการทำงาน--ไทย--ยะลา
ข้าราชการตำรวจ--ความพอใจในการทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการ ตํารวจผู้ปฏิบัติงานด้านสอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองยะลา และสถานีตํารวจภูธรยะหา จังหวัดยะลา (2) ศึกษาปัจจัยที่มี ความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทํางาน ของข้าราชการตํารวจผู้ปฏิบัติงานด้านสอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองยะลา และ สถานีตํารวจภูธรยะหา จังหวัดยะลา และ (3) เพื่อเป็นแนวทางในการแกไข้ปรับปรุง และพัฒนาคุณภาพชีวิตการทํางาน ต่อไป การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้าราชการตํารวจผู้ปฏิบัติงาน ด้านสอบสวนของสถานีตํารวจภูธรเมืองยะลา และสถานีตํารวจภูธรเมืองยะหา จังหวัดยะลารวมจํานวน 73 คน เก็บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ที่พัฒนาขึ้นจากแนวคิดคุณภาพชีวิตการทํางานของวอลตัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการตํารวจผู้ปฏิบัติงานด้านสอบสวนสถานี ตํารวจภูธรเมืองยะลา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจําแนกเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความ พึงพอใจในงาน และอาชีพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุด ได้แก่ ด้านความเครียดจากงานที่ทําและคุณภาพชีวิตการทํางานของ ข้าราชการตํารวจผู้ปฏิบัติงานด้านสอบสวนสถานีตํารวจภูธรยะหา จังหวัดยะลา โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจําแนก เป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านความพึงพอใจในงาน และอาชีพ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าสุด ได้แก่ ด้าน ตําแหน่งงาน (2) ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบคุณภาพชีวิตการทํางาน ตามแนวคิดของวอลตัน ทั้ง 8 ปัจจัย มีความสัมพันธ์ทางบวก กับคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการตํารวจผู้ปฏิบัติงานด้านสอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองยะลา ในระดับปานกลาง และน้อยและมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการตํารวจผู้ปฏิบัติงานด้านสอบสวนสถานี ตํารวจภูธรยะหา จังหวัดยะลา ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้าราชการตํารวจผู้ปฏิบัติงานด้าน สอบสวนสถานีตํารวจภูธรเมืองยะลา มีคุณภาพชีวิตการทํางานโดยรวมและรายด้าน ตํ่ากว่าข้าราชการตํารวจผู้ปฏิบัติงาน ด้านสอบสวนสถานีตํารวจภูธรยะหา จังหวัดยะลา (3) ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทํางานของข้าราชการตํารวจผู้ปฏิบัติงาน ด้านสอบสวนสถานีตํารวจ ภูธรเมืองยะลาและสถานีตํารวจภูธรยะหา จังหวัดยะลา สามารถดําเนินการได้ดังนี้ 1) พิจารณาปรับ ค่าตอบแทนต่าง ๆ ให้มีความเหมาะสมกับปริมาณงานรายคดี 2) ให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเบิกเงินค่าใช้สอยต่าง ๆ ได้ตลอดจนสนับสนุนยานพาหนะหุ้มเกราะที่ใช้ในการปฏิบัติงาน 3) พัฒนาความรู้และทักษะด้านงานสอบสวน ให้เป็น ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 4) ปรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเลื่อนตําแหน่งให้มีความเป็นธรรมตามผลการปฏิบัติงาน และ จัดทําเส้นทางสายอาชีพที่แน่นอนของผู้ปฏิบัติงานด้านสอบสวน 5) ผู้บังคับบัญชาควรให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา ของพนักงานสอบสวน 6) ลดขั้นตอนและเอกสารการสอบสวนที่ไม่จําเป็น 7) จัดสรรและปรับเกลี่ยบุคลากรให้เพียงพอ ต่อการปฏิบัติงานอยู่เสมอ ตามปริมาณงานที่เกิดขึ้นจริง 8) ผู้บังคับบัญชารับผิดชอบประสานงาน และขอความร่วมมือ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานสอบสวน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8858
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
154999.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.16 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons