กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8860
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of instruments to measure technology literacy of Prathom Suksa VI students in Schools under Bangkok Metropolitan Administration
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรณ์ดี แสงประทีปทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
รัชนีกุล ภิญโญภานุวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประภาส ฉัตรไชยพรกุล, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
เทคโนโลยี -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
เทคโนโลยี -- การวัดผล
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดความสามารถในการใช้เทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2557 จำนวน 450 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวัดความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ที่สร้างขึ้นประกอบด้วยแบบทดสอบ 2 ฉบับคือ ฉบับที่ 1 แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเลือกและใช้เทคโนโลยี และฉบับที่ 2 แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ดัชนีความสอดคล้อง ความยาก อำนาจจาแนก ความเที่ยงโดยใช้สูตรของคูเดอร์และ ริชาร์ดสันที่ 20 และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏว่า เครื่องมือวัดความสามารถในการใช้เทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยแบบทดสอบ 2 ฉบับคือ ฉบับที่ 1 แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการเลือกและใช้เทคโนโลยี เป็นแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีความตรงโดย ดัชนีความสอดคล้อง มีค่าระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 ความยากมีค่าระหว่าง 0.36 ถึง 0.76 อำนาจจำแนกมีค่าระหว่าง 0.21 ถึง 0.56 มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.88 ฉบับที่ 2 แบบทดสอบทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี แบ่งเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 กระบวนการแก้ปัญหาทางเทคโนโลยี เป็นข้อสอบแบบสถานการณ์ จำนวน 20 ข้อ มีความตรงโดย ดัชนีความสอดคล้อง มีค่าระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 ความยาก มีค่าระหว่าง 0.34 ถึง 0.71 อำนาจจำแนก มีค่าระหว่าง 0.21 ถึง 0.56 มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.90 และตอนที่ 2 ทักษะปฏิบัติทางเทคโนโลยี เป็น แบบประเมินแบบรูบริค 4 ระดับ จำนวน 10 ข้อ มีความตรงโดย ดัชนีความสอดคล้อง มีค่าเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.85
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8860
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
147932.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons