กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8862
ชื่อเรื่อง: ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Organizational commitment of personnel at the Department of Trade Negotiations
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์
เสาดะ แขวงดำ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ความผูกพันต่อองค์การ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จําแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล (3) เสนอแนะแนวทางการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกรมเจรจาการค้าระหวางประเทศ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ บุคลากรของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จํานวน 243 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้จํานวนทั้งสิ้น 152 คน ตามสูตรทาโร ยามาเน่โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าเฉลี่ยเลขคณิต การทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียวและการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสําคัญทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า (1) ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) บุคลากรกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่ มี เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ระดับรายได้ต่อเดือน ระยะเวลาในการปฏิบัติงานที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และตําแหน่งงาน ที่แตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศที่มีอายุแตกต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่าง มีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) แนวทางการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศคือ ผู้บริหารควรเร่งดําเนินการให้บุคลากรมีความ ภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งขอองค์การ เนื่องจากบุคลากรมีความผูกพันต่อองค์การในด้านนี้น้อยที่สุดโดยการเปิดโอกาสให้บุคลากรมีอิสระในการคิดและแสดงความรู้ความสามารถได้อย่างเต็มที่เพื่อสร้างคุณค่าให้กับตนเอง และควรกระจายงานที่สําคัญให้ทุกคนเท่าเทียมกันเพื่อความรู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8862
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
155001.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons