กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8877
ชื่อเรื่อง: | ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านในเมือง จังหวัดสตูล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effects of using a guidance activities package based on cooperative learning concept to develop social aspect of emotional literacy of Prathom Suksa IV-VI students at Ban Nai Mueang School in Satun Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา อุไร นาคสง่า, 2520- ผู้แต่ง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา --การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี ความฉลาดทางอารมณ์ การแนะแนว--เครื่องมือ นักเรียนประถมศึกษา--กิจกรรมการเรียนการสอน การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ด้านสังคมของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ และ 2) เปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ด้านสังคมของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือและของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านในเมือง อำเภอละงู จังหวัดสตูล ที่มีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ด้านสังคมตั้งแต่ระดับปานกลางลงมา และสมัครใจเข้าร่วมการทดลองจำนวน 40 คน จากนั้นสุ่มอย่างง่ายเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ด้านสังคมที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .92 (2) ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านสังคม และ (3) กิจกรรมแนะแนวปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภายหลังการทดลอง นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีความฉลาดทางอารมณ์ด้านสังคมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือมีความฉลาดทางอารมณ์ด้านสังคมภายหลังการทดลองสูงกว่าของนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05. |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8877 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT_166499.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.69 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License