กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8887
ชื่อเรื่อง: การคงอยู่ของพนักงาน บริษัท สังคมสุขภาพ จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Employee retention of Health Society Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภาวิน ชินะโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นุชนาถ ดีสนั่น, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
พนักงานบริษัท สังคมสุขภาพ--ความพอใจในการทำงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ.
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการคงอยู่ในงานของพนักงาน บริษัท สังคมสุขภาพ จำกัดและ (2) เปรียบเทียบการคงอยู่ในงานกับปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงาน บริษัท สังคมสุขภาพ จำกัด ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ต่อเดือน และประสบการณ์ในการทำงานประชากร ในการวิจัยครั้งนี้คือ พนักงาน บริษัท สังคมสุขภาพ จำกัด จำนวน 200 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 133 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบง่ายใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องในการเก็บรวบรวมข้อมูล ค่าสถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ และหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าที ค่าเอฟ เมื่อพบความแตกต่างทำการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ ผลการศึกษาพบว่า ระดับการคงอยู่ของพนักงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า (1 ด้านการมีส่วนร่วมในงาน ด้านหน้าที่รับผิดชอบ ด้านผลตอบแทนอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนค้านผู้บริหาร อยู่ในระดับมาก และ (2) การเปรียบเทียบปัจจัยการคงอยู่ในงานกับปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศและอายุที่แตกต่างมีระดับความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน แต่พนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ด้านรายได้ต่อเดือนต่างกันและมีประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีระดับความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8887
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_158823.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons