กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/888
ชื่อเรื่อง: ความพร้อมของผู้ประกอบการร้านยาในเขตตรวจราชการสาธารณสุข 7 ต่อการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานร้านยาในโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพร้านยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The readiness of pharmacy entrepreneurs to follow the pharmacy accreditation scheme in Public Health inspection Region 7
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา ผลประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิพาภร บัวนุ้ย, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
ร้านขายยา--มาตรฐาน
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเชิงสํารวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความพร้อมของผู้ประกอบการร้านยาในเขตตรวจราชการสาธารณสุข 7 ต่อการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานร้านยาในโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพร้านยา และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยลักษณะทางประชากร ประสบการณ์ในการดำเนินกิจการ ระดับความรู้เรื่องโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพร้านยา และแรงจูงใจกับความพร้อมของผู้ประกอบการร้านยา ประชากรในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการร้านยาแผนปัจจุบัน ที่ไม่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพร้านยาในเขตตรวจราชการสาธารณสุข 7 จํานวน 13 ราย เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มอย่างเป็นระบบ จํานวน 200 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ไค-สแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความพร้อมของผู้ประกอบการร้านยาในเขตตรวจราชการสาธารณสุข 7 ต่อการปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานร้านยาในโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพร้านยา ส่วน ใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความพร้อมด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งสนับสนุนบริการ ด้านการบริหารจัดการเพื่อคุณภาพ และด้านการบริการเภสัชกรรมที่ดี อยู่ในระดับปานกลาง ในขณะที่ความพร้อมด้านการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และจริยธรรม และด้านการให้บริการและการมีส่วนร่วมในชุมชนและสังคม อยู่ในระดับสูง (2) จำนวนครั้งการอบรม ประชุมสัมมนา ศึกษาดูงานและแรงจูงใจที่จะเข้าร่วมเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพร้อมของผู้ประกอบการร้านยาอย่างมีนัยสำคัญทางโครงการ สถิติที่ระดับ 0.05 ร้านยาให้มากขึ้น ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย (1) ควรเพิ่มการเข้าถึงการจัดอบรมฯ ของผู้ประกอบการร้านยาให้มากขึ้น (2) ควรสร้างแรงจูงใจที่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการร้านยาให้มากขึ้น และ (3) ควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์เรื่องสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/888
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118399.pdfเอกสารฉบับเต็ม5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons