กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8890
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์อภิมานปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ในองค์การของพนักงานเอกชนในธุรกิจเขตภาคกลางและภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Meta-analysis of factors relating retention of business employees in Central and East Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิ่งพร ทองใบ
เบญจา ศิริผล, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การวิเคราะห์อภิมาน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณลักษณะของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการคงอยู่ในองค์การ(2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ในองค์การของพนักงานในธุรกิจ (3) เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานของปัจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานในธุรกิจ และ (4) อธิบายความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานของปัจจัยเชิงเหตุของการคงอยู่ในองค์การด้วยคุณลักษณะของงานวิจัยประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ งานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาที่ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ในองค์การของพนักงานเอกชนในธุรกิจเขตภาคกลางและภากตะวันออก จำนวนทั้งสิ้น 74 เรื่องและเลือกจำนวนประชากรตามวิธีของเครจซี่และมอร์แกน ดำเนินการวิเกราะห์ด้วยวิธีของ Glass และคณะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ รู้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทคสอบค่าเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิคราะห์ดดถอยพหุคูณ และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการศึกษาพบว่า (1) คุณลักษณะของงานวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านลักษณะของงานวิจัย พบว่า แหล่งผลิตงานวิจัยวิทยานิพนธ์ที่นำมาสังเคราะห์มากที่สุดคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่วนใหญ่เป็นนักวิจัยเพศหญิง ที่อยู่ในช่วงปีการศึกษา 2558-2559 2) ด้านเนื้อหาสาระงานวิจัย พบว่า เป็นการศึกษาเพื่อหาความสัมพันธ์ของปัจจัยมากที่สุด รองลงมาคือ การศึกษาอิทธิพลของปัจจัย แนวคิด/ทฤษฎี ที่อ้างอิงมากที่สุดคือแนวคิดความผูกพันองค์การและทฤยฎีสองปัจัยของฮิร์กบิร์ก ตัวแปรอิสระเป็นการศึกษาปัจจัยด้านผลตอบแทนมากที่สุด และอภิปรายผลโดยการอ้างอิงผลการวิจัย 3) ด้านวิธีวิทยาการวิจัย พบว่า วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้มากที่สุดคือ การเลือกแบบหลายขั้นตอน และใช้แบบสอบถามร้อยละ 100 โดยมีการตรวจสอบความตรงของเครื่องมือส่วนใหญ่เป็นเฉพาะอาจารย์ที่ปรึกษาเพียงท่านเดียวและค่าคุณภาพเครื่องมือที่มากกว่า 0.90 คิดเป็นร้อยละ 47.62 จากการให้คะแนนคุณภาพงานวิจัยพบว่า มีเพียง 42 เล่ม ที่มีค่าคะแนนคุณภาพงานวิจัยเกินร้อยละ 60 (2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ในองค์การของพนักงานในธุรกิจ มีค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์อยู่ในช่วงระหว่าง 0.31-0.70ประกอบด้วย กรรับรู้พฤดิกรรมองค์การ ความผูกพันองค์การดอกาสและความคาดหวัง นโยบายการบริหารองค์การความพึงพอใจในงาน ความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของตน ปัจจัยส่วนบุคคล วัฒนธรรมองค์การและภาวะผู้นำ ตามลำดับ(3) ความแตกต่างของก่าเฉลี่ยดัชนีมาตรฐานของปัจัยที่มีความสัมพันธ์กับการคงอยู่ในองค์กรของพนักงานในธุรกิจที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ตัวแปรปีการศึกษา ทฤษฎี/แนวคิด ขนาดกลุ่มตัวอย่าง วิธีหาค่าความเที่ยงวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างประเภทตัวแปรตาม วิธีหาค่าความตรง สถิติทดสอบ และคุณภาพงานวิจัย และ(4) ปัจจัยที่มีผลต่อความแปรปรวนของค่ดัชนีมาตรฐานคือ การรับรู้พฤติกรรมองค์การสามารถทำนายค่ดัชนีมาตรฐานของปัจจัยเชิงเหตุของการคงอยู่องค์การของพนักงานในธุรกิจได้ ร้อยละ 14.3
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8890
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fullttext_158400.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons