Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8895
Title: | บทบาทพนักงานสอบสวนในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : ศึกษากรณีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท |
Other Titles: | Official role in the reconciliation process : a study case of mediation |
Authors: | ภาณินี กิจพ่อค้า ประเสริฐศักดิ์ บุญศรี, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี การไกล่เกลี่ย พนักงานสอบสวน การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์ กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องบทบาทพนักงานสอบสวนในกระบวนการยุติธรรมเชิง สมานฉันท์:ศึกษากรณีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและสภาพปัญหา ที่เกี่ยวกับบทบาทของพนักงานสอบสวนต่อการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาตามหลัก กระบวนการ ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นสอบสวน (2) เพื่อศึกษา แนวคิด ทฤษฎี หลักเกณฑ์กระบวนการยุติธรรมเชิง สมานฉันท์ และลักษณะความผิดทางอาญาที่สามารถนำเข้าสู่กระบวนการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตาม หลักกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (3) เพื่อศึกษาและค้นหาแนวทางมาใช้เป็นข้อเสนอแนะบทบาท ของพนักงานสอบสวนในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในชั้นสอบสวน การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Reserch) ประเภทการวิจัยเอกสาร (Documentary Reserch) โดยวิธีการรวบรวมเอกสารจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ได้แก่ หนังสือ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความทางวิชาการ ตัวบทกฎหมาย สี่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับบทบาทการไกล่ ข้อพิพาทของพนักงานสอบสวนในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ จากผลการศึกษาพบว่าพนักงาน สอบสวนมีบทบาทสำคัญ เนื่องจากสามารถยุติข้อพิพาททางอาญาในชั้นสอบสวน โดยไม่ต้องนำคดีขึ้นสู่ ศาล โดยมีผลดีมากกว่าผลเสีย คือ ลดการนำคดีขึ้นสู่ศาล ประหยัดเวลา และงบประมาณภาครัฐ ซึ่งสมควร นำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ในกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของพนักงานสอบสวน ทำ ให้เหยื่อได้รับโอกาสในการเยียวยาโดยเร็วและหากสามารถตกลงกันได้ในชั้นสอบสวน และผู้กระทำ ได้รับการฟืนฟูโดยเร็ว อีกทั้งเป็นผลดีต่อตัวผู้กระทำผิดที่ไม่ต้องมีประวัติการต้องหาคดีอาญาติดตัว ทำให้ ทุกฝ่ายต่างได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน ผลการศึกษาผู้ศึกษาได้ศึกษาหลักการและวิธีการนำหลักการกระบวนการยุติธรรมเชิง สมานฉันท์มาใช้ในการระงับข้อพิพาทในคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนโดยไม่ให้เกิดความซํ้าซ้อนกับ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมยื่น และผู้ศึกษาได้เสนอให้มีการออกกฎหมายรองรับอำนาจพนักงาน สอบสวนในการดำเนินการระงับข้อพิพาททางอาญาในชั้นพนักงานสอบสวนได้ เพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ของการดำเนินการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8895 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_135430.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License