Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8905
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมลชัย รัตนสกาววงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorปุญวรินท์ บุนนาค, 2521-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-08-16T06:38:35Z-
dc.date.available2023-08-16T06:38:35Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8905en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “องค์คณะในการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาที่มาของแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญากับ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (2) ศึกษาแนวคิดและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระบบองค์คณะผู้พิพากษารวมถึง การลงคะแนนเสียงในการพิพากษาคดีของประเทศไทยและต่างประเทศ (3) วิเคราะห์สภาพปัญหาเกี่ยวกับ องค์คณะในการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในแง่มุมต่าง ๆ ในเชิงศึกษาเปรียบเทียบ (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงหรือตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความเหมาะสมกับบริบทของสังคมและกฎหมายของประเทศไทยต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วย การวิจัยเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารทางนิติศาสตร์จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย หนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ผลการวิจัยพบว่า ผู้พิพากษาส่วนมากในศาลยุติธรรมจะคุ้นเคยและมีประสบการณ์ในระบบ กล่าวหามากกว่าระบบไต่สวนซึ่งใช้ในดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังนั้นศาลที่ทำ หน้าที่ไต่สวนจึงต้องมีความรู้และวิเคราะห์ข้อมูลโดยเฉพาะในรายละเอียดเกี่ยวกับระบบ ระเบียบหรือวิธี ปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่มีปัญหาโต้เถียงกันพอสมควรด้วย และในประเด็นเรื่องมติขององค์คณะ ในการลงคะแนนเสียงนั้น ควรมีการแก้ไขและเพิ่มเติมพระราชบัญญติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธี พิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพ.ศ. 2542 ในมาตรา 20 ให้การวินิจฉัยชี้ขาดหรือการพิพากษาคดี ในเรื่องการลงมติ โดยให้ถือมติตามเสียงข้างมาก ซึ่งต้องมีเสียงข้างน้อยไม่เกินสองคน และหากมติเสียงข้างมากเหลือไม่ถึง 6 คน ต้องใช้มติเอกฉันท์เท่านั้น ซึ่งการแก้ไขมาตราดังกล่าวจะทำให้อัตรา ร้อยละของมติในการลงคะแนนเสียง จะเป็น 7 ต่อ 2 ซึ่งคือร้อยละ 77.77 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงและมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ หรือหากเป็นกรณีมติเสียงข้างมากเหลือไม่ถึง 6 คน ต้องใช้มติเอกฉันท์มติ อัตราร้อยละจะเป็น 66.66 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าที่กฎหมายบัญญํติไว้ในปัจจุบัน อันจะเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องความเชื่อมั่นของประชาชน รวมทั้งตัวผู้กระทำความผิดที่ถูกดำเนินคดี ว่าจะได้รับการพิจารณาพิพากษาคดีด้วยความเป็นธรรมโดยเป็นไปตามหลักสากล และควรมีการแยกพิจารณาในด้านคะแนนเสียงในการวินิจฉัยและ คะแนนเสียงในการลงโทษด้วยth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectนักการเมือง--คดีอาญา--ไทยth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์th_TH
dc.titleองค์คณะในการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองth_TH
dc.title.alternativeCourt panel system for the criminal case of politicianen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this independent study titled “Court Panel System for The Criminal Case of Politician” were to (1) explore the historical background, concepts and theories related to the criminal proceedings against persons holding political positions, (2) study concepts and rules about the panel of judges, including the vote in the judgment of the Kingdom of Thailand and abroad, (3) analyze the problems with the court panel in the criminal prosecution of persons holding political positions with the aspects in comparative study, and (4) propose suggestion to improve or enact laws that are appropriate to the context of society and the laws of the Kingdom of Thailand. This independent study was a legal research by using qualitative and documentary research methods to examine the legal documents from the collection of provisions of laws, legal books, articles and academic papers, theses and data networks, both in Thai and English. The results of the research showed that the judges in the Court of Justice are mostly experienced in allegation system over the investigation system used in criminal prosecution of persons holding political positions. Therefore, the court that concentrates on the investigation system should have knowledge and ability to investigate and analyze the data, including the detailed knowledge about the rules and regulations or practice with regards to the controversial facts in the case. It should also amend the Act on the Criminal Procedure for Persons Holding Political Positions A.D. 1999 on issue of the voting of the panel under Section 20. In finalizing the decision or judgment in terms of the vote should be by a resolution of the majority with not more than two minority and if the majority votes ends with no more than 6 persons, a unanimous resolution is brought to be used. The amendment of the statute puts the percentage of votes in the ballot would be 7 by 2, which is 77.77 percent, which is considerably high and credible or if the majority is left with the majority of 6 persons the rate would be 66.66 percent which is a higher rate than specified in the present law which will resolve the issue of public confidence including the assurance that the offender being prosecuted would receive a fair trial in accordance with the universal standard and there should be a consideration to separate the votes in the judgment and the vote in the penalty.en_US
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_140837.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.55 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons