กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8905
ชื่อเรื่อง: องค์คณะในการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Court panel system for the criminal case of politician
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กมลชัย รัตนสกาววงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปุญวรินท์ บุนนาค, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
นักการเมือง--คดีอาญา--ไทย
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง “องค์คณะในการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาที่มาของแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญากับ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (2) ศึกษาแนวคิดและหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระบบองค์คณะผู้พิพากษารวมถึง การลงคะแนนเสียงในการพิพากษาคดีของประเทศไทยและต่างประเทศ (3) วิเคราะห์สภาพปัญหาเกี่ยวกับ องค์คณะในการดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในแง่มุมต่าง ๆ ในเชิงศึกษาเปรียบเทียบ (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงหรือตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความเหมาะสมกับบริบทของสังคมและกฎหมายของประเทศไทยต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วย การวิจัยเอกสาร โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสารทางนิติศาสตร์จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวบทกฎหมาย หนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ผลการวิจัยพบว่า ผู้พิพากษาส่วนมากในศาลยุติธรรมจะคุ้นเคยและมีประสบการณ์ในระบบ กล่าวหามากกว่าระบบไต่สวนซึ่งใช้ในดำเนินคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ดังนั้นศาลที่ทำ หน้าที่ไต่สวนจึงต้องมีความรู้และวิเคราะห์ข้อมูลโดยเฉพาะในรายละเอียดเกี่ยวกับระบบ ระเบียบหรือวิธี ปฏิบัติต่างๆ เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่มีปัญหาโต้เถียงกันพอสมควรด้วย และในประเด็นเรื่องมติขององค์คณะ ในการลงคะแนนเสียงนั้น ควรมีการแก้ไขและเพิ่มเติมพระราชบัญญติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธี พิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพ.ศ. 2542 ในมาตรา 20 ให้การวินิจฉัยชี้ขาดหรือการพิพากษาคดี ในเรื่องการลงมติ โดยให้ถือมติตามเสียงข้างมาก ซึ่งต้องมีเสียงข้างน้อยไม่เกินสองคน และหากมติเสียงข้างมากเหลือไม่ถึง 6 คน ต้องใช้มติเอกฉันท์เท่านั้น ซึ่งการแก้ไขมาตราดังกล่าวจะทำให้อัตรา ร้อยละของมติในการลงคะแนนเสียง จะเป็น 7 ต่อ 2 ซึ่งคือร้อยละ 77.77 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงและมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ หรือหากเป็นกรณีมติเสียงข้างมากเหลือไม่ถึง 6 คน ต้องใช้มติเอกฉันท์มติ อัตราร้อยละจะเป็น 66.66 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่าที่กฎหมายบัญญํติไว้ในปัจจุบัน อันจะเป็นการแก้ไขปัญหาเรื่องความเชื่อมั่นของประชาชน รวมทั้งตัวผู้กระทำความผิดที่ถูกดำเนินคดี ว่าจะได้รับการพิจารณาพิพากษาคดีด้วยความเป็นธรรมโดยเป็นไปตามหลักสากล และควรมีการแยกพิจารณาในด้านคะแนนเสียงในการวินิจฉัยและ คะแนนเสียงในการลงโทษด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8905
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_140837.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons