Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8908
Title: บทบาทในการบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1
Other Titles: Roles on learning resource administration of school administrators under the Offices of Sakaeo Primary Education Service Area 1
Authors: เข็มทอง ศิริแสงเลิศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จำลอง นักฟ้อน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรเกียรติ งามเลิศ, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา -- วิทยานิพนธ์
ผู้บริหารโรงเรียน -- ไทย -- สระแก้ว
การบริหารการศึกษา
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาบทบาทในการบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหาร โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 1 (2) เปรียบเทียบบทบาทใน การบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 1 จำแนกตามขนาดและระดับคุณภาพของโรงเรียน และ (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ บทบาทในการบริหารแหล่งเรียนรู้ของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระแก้วเขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้น ที่การศึกษา ประถมศึกษาสระแก้วเขต 1 ในปีการศึกษา 2557 จำนวน 107 โรงเรียน จำแนกออกเป็น โรงเรียนขนาดเล็ก จำนวน 46 โรง โรงเรียนขนาดกลางจำนวน 38 โรง และโรงเรียนขนาดใหญ่จำนวน 23 โรง ซึ่งได้มาโดย วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง มีค่าความเที่ยง .98 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบด้วยวิธี LSD ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ผู้บริหารโรงเรียนมีบทบาทในการบริหารแหล่งเรียนรู้โดยภาพ รวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน (2) ผู้บริหารโรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก มีบทบาทในการบริหารแหล่งเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้บริหาร โรงเรียนคุณภาพระดับดีและโรงเรียนคุณภาพระดับปรับปรุงมีบทบาทในการบริหารแหล่งเรียนรู้ไม่ แตกต่างกัน และ (3) ปัญหาหลักในการบริหารแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ การบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ในการจัด กิจกรรมการเรียนการสอนยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ส่วนข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรจัดระบบ โครงสร้างการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้และควรกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากรอย่างชัดเจน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8908
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148299.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.74 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons