Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8910
Title: ความรับผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ศึกษากรณีการปลูกถ่ายอวัยวะและการค้าอวัยวะมนุษย์
Other Titles: The liability under the anti-trafficking in person Act B.E. 2551 (2008) case study of human organ transplantation and trafficking
Authors: ภาณินี กิจพอค้า, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัชชารีย์ ประทีปธนวงศ์, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551
การปลูกถ่ายอวัยวะ เนื้อเยื่อ ฯลฯ--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--นิติศาสตร์
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาหลักการแนวคิดและวิวัฒนาการที่เกี่ยวข้องกับ การปลูกถ่ายอวัยวะและการค้าอวัยวะมนุษย์ (2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับความรับผิดตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 กับกรณีการปลูกถ่ายอวัยวะและการค้าอวัยวะ มนุษย์ (3) เพื่อศึกษากฎหมายของประเทศสิงคโปร์ ประเทศอังกฤษและประเทศออสเตรเลียเกี่ยวกับการปลูกถ่ายอวัยวะและการค้าอวัยวะมนุษย์เปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกรณีการปลูกถ่ายอวัยวะและการค้าอวัยวะมนุษย์ของไทย (4) เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ในส่วนที่เป็นช่องว่างและควรได้รับการพัฒนาให้ครอบคลุมต่อสถานการณ์ปัญหาในปัจจุบัน การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยใช้เอกสารเป็นหลักในการรวบรวมข้อมูลและข้อ กฎหมาย รวมถึงข้อเท็จจริงต่างๆ และนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาวิเคราะห์ในลักษณะการเขียนเชิงพรรณนาเพื่อหา ข้อสรุปและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป ผลจากการศึกษาพบว่า รูปแบบของการค้าอวัยวะมีลักษณะที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ การค้าอวัยวะไม่ เพียงแต่เป็นการบังคับ ข่มขู่หรือหลอกลวงเท่านั้น อาจมีกรณีสมยอมตกลงแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ระหว่าง คู่กรณีเกิดขึ้น ซึ่งตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 มาตรา 4 การแสวงหาประโยชน์โดย มิชอบรวมถึงการบังคับตัดอวัยวะเพื่อการค้า ต้องมีองค์ประกอบ 2 ประการสำคัญคือ 1.การกระทำในลักษณะบังคับตัดอวัยวะ 2. เพื่อการค้าในการพิจารณาถึงความรับผิดไม่ได้พิจารณาในแง่ของการค้าหรือการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบเป็นหลัก อันจะทำให้ผู้กระทำและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องรับผิด ส่งผลให้ พ.ร.บ. ฉบับนี้ไม่ครอบคลุมต่อสถานการณ์ปัญหาในปัจจุบัน ที่อาจมีการยินยอมให้นำอวัยวะออกเพื่อผลประโยชน์ต่างๆ จึงควร แก้ไขเพี่มเติม พ.ร.บ.นี้ ให้ครอบคลุมต่อสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกรูปแบบโดยไม่เพ่งเล็งเฉพาะการใช้วิธีการบังคับ แต่ให้รวมถึงทุกกรณีที่มีการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบแต่ไม่รวมถึงการผ่าตัดแปลงเพศ และเสนอให้มีการบัญญัติเพิ่มเติมในกรณีการซื้อขายอวัยวะมนุษย์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องรับผิดตามพระราชบัญญัติป้องกันและ ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ด้วย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8910
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_142294.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.6 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons