กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8911
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท พ.ศ.ช. ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting work motivation of employees of P.S.CH. Foodproduct Co.,Ltd. |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ นันทาริกา ไชยหงษา, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี บริษัท พ.ศ.ช. ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด--พนักงาน--ความพอใจในการทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2552 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท พ.ศ.ช. ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด (2) เปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท พ.ศ.ช. ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด (3) เสนอแนะแนวทางเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท พ.ศ.ช. ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ให้เพิ่มสูงขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานของบริษัท พ.ศ.ช. ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด จำนวน 100 คน จากพนักงานทั้งสิ้น 134 คน ซึ่งคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ การหาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ย และส่วนเยี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับการทดสอบสมมติฐานจะใช้สถิติได้แก่ การทคสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธี Least Significance Difference (LSD) ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท พ.ศ.ช. ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด อยู่ในระดับปานกลาง (2) การทคสอบสมมติฐาน พบว่า พนักงานที่มีระดับการศึกษาอัตราเงินเดือน หน้าที่ปัจจุบันที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท พ.ศ.ช. ผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อทำการเปรียบเทียบแบบรายคู่ ด้วยวิธี L.SD พบว่า คู่ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ กลุ่มที่มีอัตราเงินเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท กับกลุ่มที่มีอัตราเงินเดือน 10,001 บาทขึ้นไป (10,00 1-20,000 บาท/20,001บาท ขึ้นไป)และกลุ่มที่มีอัตราเงินเดือน5,000- 10,000 บาท กับกลุ่มที่มีอัตราเงินเดือน10.,001 บาทขึ้นไป (10,001-20,000 บาท/20,001 บาทขึ้นไป) โดยกลุ่มที่มีอัตราเงินเดือน10,001 บาทขึ้นไป มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ (3) มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจ เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้สูงขึ้น ได้แก่ ด้านนโยบายขององค์กร ด้านการบริหารงานของผู้บังคับบัญชา ด้านสภาพแวดล้อม สัมพันธภาพและบรรยากาศในการทำงาน ด้านค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน ด้านค่าตอบแทนที่ ไม่เป็นตัวเงิน ด้านการตรวจยาเสพติด และด้านการตรวจสุขภาพ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8911 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_129850.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.85 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License