กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8918
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวิชัย ศรีรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorธีระวัฒน์ สินธุวงษ์, 2511-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-08-16T07:28:29Z-
dc.date.available2023-08-16T07:28:29Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8918en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง บทลงโทษความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิด วิวัฒนาการและทฤษฎีกฎหมายที่เกี่ยวข้องสำหรับความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบบทลงโทษความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามกฎหมาย ไทยกับกฎหมายต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์หาความเหมาะสมของบทลงโทษความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลและเพื่อนำผลวิเคราะห์มาสรุปเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงโทษและอัตราโทษที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับบทลงโทษความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลของไทยอันจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกลงโทษต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการวิจัยจากเอกสารด้วยการศึกษาค้นคว้าจากตัวบทกฎหมาย หนังสือหรือตำราทางวิชาการ บทความ วารสาร วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ตลอดจนคำพิพากษาศาลฎีกา รวมทั้งข้อมูลที่ค้นคว้าได้จากอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับบทลงโทษความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลในการควบคุมการพิจารณาคดีให้เกิดความเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยเที่ยงธรรมและรวดเร็วเท่านั้น มิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมเหมือนเช่นคดีอาญาทั่วไป ดังนั้นการใช้ดุลพินิจในการลงโทษของศาลควรใช้ทฤษฎีการลงโทษเพื่อข่มขู่ ยับยั้งหรือป้องกันความผิดหรือทฤษฎีการลงโทษเพื่อสร้างจิตสำนึก ไม่ควรใช้ทฤษฎีการลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทน บทลงโทษความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในส่วนของโทษจำคุกที่มีอัตราโทษสูงถึง 6 เดือน ย่อมส่งผลกระทบต่ออิสรภาพของผู้ถูกลงโทษ และเกินกว่าความจำเป็นในการรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล ซึ่งมิได้คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเสรีภาพของบุคคลเท่าที่ควร จึงควรกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน และควรนำโทษกักขังและการควบคุมตัว รวมทั้งวิธีการเพื่อความปลอดภัยเรื่องห้าม เข้าเขตกำหนดและการเรียกประกันทัณฑ์บนมาใช้เป็นบทลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลด้วย นอกจากนี้ ควรกำหนดโทษปรับให้สูงขึ้น โดยกำหนดจำนวนเงินค่าปรับเป็นไม่เกิน 50,000 บาท จากเดิมที่ปรับไม่เกิน 500 บาท โดยเทียบกับค่าของเงินตามสภาวะเศรษฐกิจและสภาพลังคมในปัจจุบัน เพื่อจะได้มีผลใน การข่มขู่ยับยั้งให้เกิดความเกรงกลัวที่ถูกลงโทษจากการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectการละเมิดอำนาจศาลth_TH
dc.subjectความผิด (กฎหมาย)th_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.subjectการลงโทษth_TH
dc.titleบทลงโทษความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลth_TH
dc.title.alternativePunishment of offense against contempt of courten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of independent study of Punishment of Offense Against Contempt of Court are as follow; (1) to study the concept, evolution and theory of law relating contempt of court in Thailand and other countries; (2) to compare and analyse the punishment of the contempt of court of Thailand and other countries; (3) to analyse the suitability of punishment of contempt of court in order to take the concluded result to improve the proper punishment contempt of court which is to be fair for offender. Independent Study is a qualitative research by documentary research such as statute, text books, articles, journal, thesis, minor thesis, judgment including data through internet relating to the punishment of contempt of court in Thailand and other countries. The study found that, the offense of contempt of court is the provision vesting judiciaries to control trial for court order, fair and speedy procedure. Its purpose has not for public order like other general criminal cases. Therefore, the discretion for conviction should be based on the Deterrence Theory or Consciousness Theory and should not use Retributive Theory. The Punishment of offense the contempt of court for imprisonment which is maximum penalty 6 months. This penalty is effect to the offender’s freedom. Moreover, the imprisonment measure is unnecessary to the court to control the litigation procedure. If any, it should not be over 1 month imprisonment or it should apply the restrain and impound including measure of safety for entrance to prohibited zone and requirement for with security for punishment the contempt of court. In addition bond beside and offense punishable with imprisonment not exceeding one month, the fine should not exceeding fifty thousand baht instead of the former fine of five hundred baht, This is accordance with present economic and social condition in order to deter resulting in reverence to be punished for violation of the offense of the contempt of court.en_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_143478.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons