กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8918
ชื่อเรื่อง: บทลงโทษความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Punishment of offense against contempt of court
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิชัย ศรีรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีระวัฒน์ สินธุวงษ์, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --การศึกษาเฉพาะกรณี
การละเมิดอำนาจศาล
ความผิด (กฎหมาย)
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
การลงโทษ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระเรื่อง บทลงโทษความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวคิด วิวัฒนาการและทฤษฎีกฎหมายที่เกี่ยวข้องสำหรับความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลทั้งของไทยและต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบบทลงโทษความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามกฎหมาย ไทยกับกฎหมายต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์หาความเหมาะสมของบทลงโทษความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลและเพื่อนำผลวิเคราะห์มาสรุปเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการลงโทษและอัตราโทษที่เหมาะสมเพื่อนำไปสู่การพัฒนาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับบทลงโทษความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลของไทยอันจะก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกลงโทษต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพโดยการวิจัยจากเอกสารด้วยการศึกษาค้นคว้าจากตัวบทกฎหมาย หนังสือหรือตำราทางวิชาการ บทความ วารสาร วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ ตลอดจนคำพิพากษาศาลฎีกา รวมทั้งข้อมูลที่ค้นคว้าได้จากอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับบทลงโทษความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า ความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลเป็นบทบัญญัติที่ให้อำนาจศาลในการควบคุมการพิจารณาคดีให้เกิดความเรียบร้อยในบริเวณศาล และเพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยเที่ยงธรรมและรวดเร็วเท่านั้น มิได้มีวัตถุประสงค์ที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมเหมือนเช่นคดีอาญาทั่วไป ดังนั้นการใช้ดุลพินิจในการลงโทษของศาลควรใช้ทฤษฎีการลงโทษเพื่อข่มขู่ ยับยั้งหรือป้องกันความผิดหรือทฤษฎีการลงโทษเพื่อสร้างจิตสำนึก ไม่ควรใช้ทฤษฎีการลงโทษเพื่อแก้แค้นทดแทน บทลงโทษความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลในส่วนของโทษจำคุกที่มีอัตราโทษสูงถึง 6 เดือน ย่อมส่งผลกระทบต่ออิสรภาพของผู้ถูกลงโทษ และเกินกว่าความจำเป็นในการรักษาความสงบเรียบร้อยในบริเวณศาล ซึ่งมิได้คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และเสรีภาพของบุคคลเท่าที่ควร จึงควรกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน และควรนำโทษกักขังและการควบคุมตัว รวมทั้งวิธีการเพื่อความปลอดภัยเรื่องห้าม เข้าเขตกำหนดและการเรียกประกันทัณฑ์บนมาใช้เป็นบทลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลด้วย นอกจากนี้ ควรกำหนดโทษปรับให้สูงขึ้น โดยกำหนดจำนวนเงินค่าปรับเป็นไม่เกิน 50,000 บาท จากเดิมที่ปรับไม่เกิน 500 บาท โดยเทียบกับค่าของเงินตามสภาวะเศรษฐกิจและสภาพลังคมในปัจจุบัน เพื่อจะได้มีผลใน การข่มขู่ยับยั้งให้เกิดความเกรงกลัวที่ถูกลงโทษจากการกระทำความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/8918
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_143478.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons